บทที่ 7

 

ประวัติการแพทย์แผนไทย

 

การแพทย์ไทยในสมัยจารีต

 

ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันมีมนุษย์ตั้งถิ่นฐานมายาวนานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคสมัยที่กำเนิดการปกครองแบบรัฐ มีรูปแบบบริหารบ้านเมืองเป็นระบบ จนถึงในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดให้จัดการระบบราชการ มีกฎหมายพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมืองและพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนใน พ.. 1998 ระบุถึงกรมแพทยาโรงพระโอสถ กรมแพทยาโรงพระโอสถ คือกรมหมอหลวง เป็นหน่วยงานราชการที่ปรากฏขึ้นครั้งแรกตามบัญญัติในกฎหมาย พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน สมัยสมเด็จ-พระบรมไตรนาถ

แพทย์ในราชสำนัก เรียกว่า แพทย์หลวง กำหนดเป็นกรมต่าง ๆ ในขณะที่ประชาชนทั่วไปมีแพทย์เชลยศักดิ์ ซึ่งฝึกฝนจากการถ่ายทอดประสบการณ์ในครอบครัวสืบต่อมา ส่วนการดูแลรักษาโรคหรืออาการเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ไข้ บาดแผล สามารถดูแลได้ในครัวเรือน

กรมแพทยาโรงพระโอสถ คือ กรมหมอหลวง ประกอบด้วยหมอประเภทต่าง ๆ ที่ได้รับเงินเบี้ยหวัดรายปีและเบิกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จากกรมพระคลัง หนึ่งในกรมจตุสดมภ์ มีหน้าที่ถวายงานตามพระราชกระแสรับสั่ง จึงให้การรักษาแก่เจ้านายในราชสำนัก หรือขุนนางสำคัญที่พระมหากษัตริย์ทรงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้หมอหลวงรักษา หมอหลวงในกรมนี้ไม่มีหน้าที่รักษาคนทั่วไป เว้นแต่มีรับสั่ง หรืออาจรับจ้างรักษาคนทั่วไปเป็นงานส่วนตัวยามว่างเว้นจากงานหลวง

กรมแพทยาโรงพระโอสถ เป็นหน่วยงานราชการที่ปรากฏขึ้นครั้งแรกตามบัญญัติในกฎหมาย พระไอยการนาพลเรือน สมัยสมเด็จพระบรมไตรนาถ อยู่ในสังกัดของเจ้าพระยา-จักรีศรีองครักษ์ สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนปลาย รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา มีการสับเปลี่ยนอำนาจใหม่ โดยเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายก ให้ไปคุมฝ่ายทหารและพลเรือนของหัวเมืองฝ่ายเหนือรวมกัน กรมทุกกรมในพระนครราชธานี ให้ขึ้นกับพระมหากษัตริย์โดยตรง กรมแพทยาโรงพระโอสถ มีที่ตั้งอยู่เมืองหลวง

 

 

324 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

จึงขึ้นตรงกับพระมหากษัตริย์

บรรดาหมอในกรมแพทยาโรงพระโอสถแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ หมอโรงใน และหมอโรงนอก หมอโรงในมีหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดเยียวยา พระบรมวงศานุวงศ์ในเขตพระราชฐานชั้นใน ส่วนหมอโรงนอกเป็นหมอที่รับพระบรมราชโองการ ไปตรวจเยี่ยมและบำบัดรักษาข้าราชการผู้เจ็บป่วย แม้ว่าหมอโรงในและหมอโรงนอกจะแยกจากกัน แต่อยู่ภายใต้บังคับของ เจ้าหมอกรมโรงพระโอสถ คือพระยาแพทยพงษาวิสุทธิ กล่าวคือ กรมหมอในโรงพระโอสถ เป็นต้นสังกัดของหมอหลวงทั้งหมด และอยู่ใต้กำกับของพระบรมวงศ์องค์ใดองค์หนึ่งซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง เช่น ในสมัย พ.. 2408 มีกรมหมื่นวงษาธิราชสนิท ทรงกำกับกรมหมอ หัวหน้าหมอหลวง คือ พระยาแพทยพงษาวิสุทธิ (ในสมัยอยุธยา ตำแหน่งนี้เรียกว่า จางวาง แพทยาโรงพระโอสถ ซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็นออกยาแพทยาพงษาวิสุทธาธิบดีอภัย พิริยปรากรมพาหุ)

การแพทย์ในสมัยจารีตมาจากความรู้ด้านเภสัชกรรมเป็นหลัก คนไทยมีความรู้ด้านนี้มาช้านานจนเป็นภูมิปัญญาที่ดำรงอยู่ในแต่ละท้องถิ่น หรือแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างชุมชน ไปจนถึงการรับและเรียนรู้จากผู้คนต่างวัฒนธรรม

ในฐานะเมืองท่าที่มีบทบาทสำคัญระดับนานาชาติ อยุธยาเป็นเมืองที่มีผู้คนหลากชนชาติแวะเวียนมาค้าขาย บ้างก็อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน แต่ละชุมชนหลากเชื้อชาติเหล่านี้นำความรู้ทางการแพทย์เข้ามาผสมผสานกับการแพทย์ท้องถิ่น จนมีตำรับตำราที่รู้จักกันดี เช่น ตำราพระโอสถพระนารายณ์ แพทย์หลวงในราชสำนักอยุธยารวบรวมตำรับการปรุงยา ใช้เครื่องยาทั้งในท้องถิ่นและจากต่างประเทศ มีชื่อแพทย์หลวง แพทย์เชลยศักดิ์ แล้วยังมีหมอแขก ชื่อ ออกพระประสิทธิสารพราหมณ์ หมอจีน คือ ขุนประสิทธิโอสถ และหมอฝรั่ง ได้แก่ ออกพระแพทย์โอสถ เมสีหมอฝรั่ง

สมุนไพรที่ปรากฏในตำรายามีเครื่องยาจากต่างถิ่น เช่น ยิงสม (โสม) ซึ่งเป็นสมุนไพรชั้นดีจากเกาหลี น้ำดอกไม้เทศจากเปอร์เซีย สกัดจากดอกไม้ เช่น กุหลาบ หรือสมุนไพรที่มีคำว่าเทศต่อท้ายเป็นการระบุที่มาจากภายนอก เช่น สหัสคุณเทศ สีเสียดเทศ

นอกจากนี้ เมื่อชาวตะวันตกเข้ามาพำนักในกรุงศรีอยุธยามีจำนวนมากขึ้น ทั้งกลุ่มบาทหลวง นายทหาร พ่อค้า มีหลักฐานการตั้งโรงพยาบาลของนักบวชคาทอลิกในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เนื่องจากยังไม่มีโรงพยาบาล บาทหลวงเป็นผู้รักษาพยาบาลผู้ป่วยและจ่ายยา จนเมื่อก่อสร้างอาคารพยาบาลในบริเวณใกล้โบสถ์นักบุญยอแซฟ บ้านปลาเห็ด กรุงศรีอยุธยา ตามบันทึกระบุว่าแต่ละวันมีคนมารักษาประมาณ 15 คน น้ำเสกและน้ำมันศักดิ์สิทธิ์เป็นยาที่ใช้มากที่สุด แม้จะไม่ได้รักษาตามวิธีการแพทย์มากนัก แต่ทำให้ประหลาดใจที่ทุกคนหายป่วยหรืออาการทุเลาลง

มิชชันนารีคาทอลิกมิได้รักษาผู้ป่วยเฉพาะในโรงพยาบาล ยังออกไปเยี่ยมและรักษาตามบ้านด้วยในพื้นที่กรุงศรีอยุธยาและชุมชนใกล้เคียงทุกวัน แพทย์หลวงทำบัญชีรายชื่อบ้าน และรายชื่อผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจนหาย ในรายงานประจำปี พ.. 2225 บันทึกว่ามิชชันนารีไปเยี่ยมบ้านถึง 800 หลัง ซึ่งได้รับพระราชานุญาตให้เข้าเยี่ยมผู้ป่วยได้ทุกบ้าน งานการแพทย์ก้าวหน้าต่อเนื่อง มีศัลยแพทย์ชาวสวิสที่เชิญมาจากเมืองสุรัต ในอินเดีย นอกจากทำงานผ่าตัด

 

 

325 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

แล้ว ยังฝึกมิชชันนารีให้ผ่าตัดด้วย

สถานพยาบาลนี้ยังมีที่พิษณุโลกอีกแห่งหนึ่ง แต่เมื่อเกิดการปฏิวัติใน พ.. 2231 สถานพยาบาลของบาทหลวงคาทอลิกจึงปิดตัวลงตามกระแสการเมือง

การแพทย์ในสมัยอยุธยาจึงผสมผสานความรู้ทางการแพทย์ข้ามวัฒนธรรมอย่างไม่หยุดนิ่ง การรับความรู้และวิธีการใหม่ ๆ จากภายนอกเกิดขึ้นด้วยความคาดหวังให้การรักษาโรคเป็นไปด้วยดี เป็นความหวังของมนุษยชาติเสมอมา

วิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์

 

 

326 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

การแพทย์แผนไทย

 

รัชดา โชติพานิช

 

การแพทย์แผนไทยในอดีตนั้น คือการใช้วิชาความรู้ทางด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บดั้งเดิมของไทยที่มีใช้มายาวนานนับร้อยปี ซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น มีการนำสมุนไพรมาประกอบเป็นยารักษาโรค ถึงแม้จะมีวิชาแพทย์แผนตะวันตกเข้ามาในสมัยโบราณ ก็มิได้มีอิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงแนวทางการรักษา เพราะแพทย์แผนไทยยังคงมีความเชื่อในตำราที่ได้ร่ำเรียนมาจากครูแพทย์หรือจากในตระกูล แต่ก็อาจจะนำแนวทางแบบตะวันตก อินเดีย หรือแบบจีน มาปรับใช้ ทั้งนี้เพื่อประสิทธิผลในการรักษาให้ผู้ป่วยบรรเทาและหายจากโรคภัยไข้เจ็บ โดยอาจผสมผสานไปกับการรักษาทางพุทธ การสวดมนต์ว่าคาถา รดน้ำมนต์ รวมทั้งด้านไสยศาสตร์ หมอผี ตามความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น

ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการแพทย์แผนไทยในอดีตจะช่วยให้เข้าใจสาเหตุและวิธีการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ด้านการแพทย์และสาธารณสุขแผนปัจจุบันได้ชัดเจนขึ้น และเข้าใจได้ว่าเหตุใดจึงมีพระราชบัญญัติการแพทย์ออกมาควบคุมกำกับวิชาชีพนี้เมื่อ พ.. 2466

 

ลักษณะของวิชาแพทย์ไทยในอดีต

ในบทความเรื่องแพทย์ในกรุงสยาม(1) กล่าวไว้ว่า แพทย์แผนโบราณ อาจจำแนกเป็นพวก ๆ ได้ดังต่อไปนี้

 

1) หมอมีครู ได้แก่ หมอแผนโบราณซึ่งได้ศึกษาตามวิธีแพทย์โบราณ แต่ครูอาจารย์ผู้รู้ตามพื้นแห่งวิทยาชั้นโน้น ถ้าเปนคนคงแก่เรียนจริงและได้เห็นไข้มามาก ๆ ก็พอใช้ได้ที่เขาสามารถรักษาได้ดีก็มี แต่เราจักต้องระลึกอยู่ข้อหนึ่งว่าวิชาแพทย์แผนโบราณนี้ เปนวิชาซึ่งยืนอยู่ที่ ไม่ก้าวหน้าต่อไป ความรู้มีกันอยู่เพียงใดในโบราณสมัยก็คงอยู่เพียงนั้น เช่นในเรื่องสรีรสาตร์ใช้ไม่ได้ทีเดียว...วิชาแพทย์แผนโบราณนั้นจะอยู่ตัวเท่าเดิมก็หามิได้ มีแต่เสื่อมถอยลงไปถ่ายเดียว เพราะวิธีเรียนเปนไปในทางครูหวงวิชา ต่อเมื่อศิษย์คนใดได้ปรนนิบัติครูถึงใจมีรับใช้สรอย นวดฟั้น บดยา ตำยา หิ้วล่วมยาตามหลังให้ เปนที่พอใจจึ่งค่อย ๆ บอกให้แล้วค่อย ๆ ใช้แทนตัวไปโดยลำดับ กว่าจะเปนหมอทำการได้จริงนั้นนาน เพราะฉะนั้นแพทย์แผนโบราณซึ่งใช้ได้จริงจึ่งมีแต่จะน้อยลงทุกวัน ส่วนทางหาเลี้ยงชีพในสมัยปัจจุบันฝืดเคืองขึ้น เรียนช้าอย่างนั้นไม่ทันกิน จึ่งได้เกิดหมอสมมตตัวเองมากขึ้น ซึ่งเข้าในจำพวก

 

 

327 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

หมอเดาหมอลวงอันจะกล่าวต่อไป หมอแผนโบราณที่คงแก่เรียนเวลานี้ เปนอันเหลือน้อยนักน้อยหนาแล้ว และเชื่อได้ว่าไม่มีเกิดใหม่แต่เท่าที่มีตัวเปนผู้คงแก่เรียนจริงนั้นยังทำประโยชน์แก่ประชาชนมากอยู่ และถ้าเปนคนมีสติปัญญาฉลาดรู้สังเกตว่องไวด้วยแล้ว อาจเปนหมอดีก็ได้ เว้นแต่โรคที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ เนื่องจากทางไปมากับนานาประเทศสะดวกขึ้นนั้นก็มีการที่ไม่รู้ทัน เพราะไม่มีทางเรียนรู้อย่างอื่น...

 

2) หมอมียา ได้แก่บุคคลผู้ได้ตำหรับยาขนานหนึ่งขนานใดเฉพาะแต่รักษาโรคอย่างหนึ่งอย่างใด แต่โดยเฉพาะไว้แต่บรรพบุรุษหรือครูอาจารย์ และยานั้นเปนยาดีรักษาโรคอันเดียวนั้นได้ชงัดจริง เช่นนี้อาจทำคุณประโยชน์แก่ประชาชนได้มาก แต่ถ้าว่าผู้นั้นทำการพร่ำเพรื่อ คือเอายานั้นไปรักษาโรคอื่นเข้าด้วย หรือดูโรคไม่ถูก เห็นโรคอื่นเปนโรคอันตนมียารักษานั้นแล้วก็อาจไร้ประโยชน์หรือทำอันตรายได้

 

3) หมอฝีหมอแผล ได้แก่หมอฝีแผนโบราณซึ่งอาจรักษาได้จริง เมื่อเปนผู้คงแก่เรียนแต่วิธีการอย่างเก่านั้นมีแต่ยาและขี้ผึ้งยา จำนนแก่การรักษาทางตัดผ่าแผนปัจจุบันเสียแล้ว เวลานี้หมอฝีแผนโบราณจึ่งหมดไป เรียกว่าไม่มีตัวทีเดียว ส่วนหมอแผลนั้นได้แก่พวกที่ชั้นต้นเรียนจากแพทย์ต่างประเทศ มีพวกแพทย์มิสชานารีเปนต้น แต่เรียนเฉพาะการบาดแผล และใช้วิธีการตามแบบเก่าครั้งกระโน้นซึ่งวิชาทำบาดแผลสะอาด (อาเล็ปสิส) ยังไม่เกิด...

 

4) หมอนวด เปนวิชาไม่สู้ยาก และไม่ใคร่มีโทษเปนอันตรายมากนัก อาจทำประโยชน์ได้ในทางรักษาอาการและแก้ได้บ้างในทางเส้นประสาทและช่วยให้โลหิตไหลเดิน จัดว่ายังทำคุณประโยชน์แก่ประชาชนโดยไม่แลกกับอันตราย แต่ถ้าอวดดีเกินไป ถึงท้าว่าแก้โรคภายในได้ เช่น แก้ฝีในท้องเปนต้น แล้วเปนอันเชื่อไม่ได้

 

5) หมอผดุงครรภ์แผนโบราณ ไม่มีความรู้อไรทำไปเดา ๆ จนทำได้ไปเอง ทั้งใช้วิธีการไม่สะอาด ถ้ายังใช้วิธีอยู่ไฟพอทำเนา...ถ้าไม่อยู่ไฟแล้วใช้แพทย์ผดุงครรภ์แผนโบราณด้วยกลับร้ายมาก แต่ถ้านางผดุงครรภ์แผนปัจจุบันที่คงแก่เรียนยังไม่เกิดขึ้นพอแก่จำนวนที่ต้องการก็ยังจำต้องใช้ สิ่งที่น่ากลัวอันตรายคือวิธีการเก่ากับใหม่คละกัน(2)

 

6) หมอพยาบาล ได้แก่ พวกที่เคยได้รับความฝึกฝนเปนคนพยาบาลตามวิชาแพทย์แผนปัจจุบัน มีความรู้เพียงเท่าสำหรับการพยาบาล อาจบำบัดโรคช่วยประชาชนได้บ้าง เมื่อเปนแต่โรคที่รักษาง่าย ๆ ถ้าไม่อวดดีเกินไป คือรู้สำนึกในฐานะของตนเห็นเกินความสามารถก็เรียกแพทย์แล้ว ย่อมทำประโยชน์ได้มากในยามที่เมืองเรายังอัตคัตแพทย์ โดยเฉพาะเช่นในหัวเมืองบ้านนอกซึ่งไม่มีแพทย์ เปนต้น ดีกว่าแพทย์แผนโบราณจำพวกซึ่งมิใช่เปนผู้คงแก่เรียน

 

 

328 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

7) หมอเวทมนตร์ ได้แก่ พวกที่รักษาโรคด้วยน้ำมนต์ด้วยอาคมเสกเป่า พระภิกษุสงฆ์จะยกไว้ไม่กล่าวในที่นี้ ส่วนที่เปนฆราวาสทำโดยความเชื่อถือสุจริตก็มี ตนเองก็ไม่เชื่อแต่ทำลวงประชาชนก็มี ถ้าเปนโรคเกี่ยวด้วยจริตและเส้นประสาท และผู้ไข้เชื่อถือจริงอาจรักษาหายได้ พ้นจากนี้แล้วจะรักษาเปนผลดีไม่ได้เปนอันขาด ไม่มีหลักฐานทางวิทยาการจะเปนได้ บางทีก็ทำอันตรายได้มาก เช่น เปนไข้หวัดใหญ่รดน้ำมนต์เลย สท้านหนาวกลายเปนปอดบวมตายเสียเปนเบือ...

 

8) หมอขายยา การขายยาในประเทศเราเปนการค้าขายที่ร่ำรวยกันมาก แต่ประชาชนโดยมากเข้าใจว่าผู้ขายเปนแพทย์จึ่งสามารถทำยาค้าขาย ฝ่ายผู้ขายบางคนก็เลยยินดีวางตัวเปนแพทย์รักษาโรคด้วย พวกนี้ไม่มีความรู้อไรเลยและถือเอาการจะขายยาเปนประมาณเท่านั้น ไม่ควรไว้วางใจเลย แต่ว่าคนขายยาที่เปนแพทย์ได้เล่าเรียนจริง ๆ ก็มี ถ้าเช่นนั้นก็ใช้ได้ แต่ในประเทศที่เจริญแล้ว เขาย่อมถือว่าเสียจรรยามารยาทของแพทย์ทีเดียว ในการที่แพทย์ทำการทั้งรักษาทั้งขายยา เพราะเขาถือว่าแพทย์ที่ขายยาเช่นนั้นหวังประโยชน์ในทางขายยาเปนอารมณ์ ไม่ใช่ประโยชน์แก่คนไข้ แพทย์ใดทำอย่างนี้อาจถูกประนามในแพทย์สมาคม ถ้าจะขายยาก็ควรเลิกทำการแพทย์

 

9) หมอพลอยเปน ได้แก่ ผู้ที่เปนบุตร ภรรยา หรือคนใช้ของแพทย์ รับใช้สรอยนิดหน่อย เช่น ช่วยตำยา บดยา พันแผล แล้วก็เลยสมมตตนเปนแพทย์โดยมิได้เล่าเรียนอไร แพทย์แผนโบราณมักจะให้ภรรยาไปเยี่ยมไข้แทนตนแล้วเลยกลายเปนเที่ยวรักษา พอสามีตายลงก็เลยรับมรดกล่วมยาไปเที่ยวทำต่อไป พวกนี้ใช้ไม่ได้...ส่วนคนใช้นั้น มักเปนคนของแพทย์ชาวต่างประเทศ นายเคยใช้สรอยให้ทำการล้างแผลบ้าง ก็เลยวางตนเปนหมอ พวกนี้อันตรายมากกว่าให้คุณเพราะเขามิได้สอนอไรให้เลย

 

10) หมอเดา มีขึ้นในชั้นหลังซึ่งอยู่ ๆ ไม่รู้จะทำกินอย่างไรก็เลยสมมตตนขึ้นเปนหมอ พวกนี้กอร์ปด้วยอันตรายเปนอันมาก ช่างไม่คิดถึงชีวิตมนุษย์เลย เชื่อว่าเปนคนรกโลกแท้ทีเดียว

 

11) หมอลวง มีได้ทุกชนิดที่กล่าวแล้ว คือมีความรู้แสดงอภินิหารหลอกคนให้เห็นอัศจรรย์เกินการ หรือไม่มีความรู้เลยทำอไรแปลก ๆ ขึ้น ลวงประชาชนซึ่งปราศจากเล่าเรียนให้หลงเชื่อ เช่น แพทย์แผนโบราณสำแดงรู้วิธีการแผนปัจจุบันด้วย และทำเปนทีใช้เครื่องตรวจฟังโดยไม่รู้ว่าอไรเลย และฟังกระทั่งแข้งขาข้อเท้าซึ่งไม่มีอไรจะได้ยิน...

 

แพทย์ในประเทศเรายังมีอยู่หลายประเภทดังนี้ และนอกจากที่กล่าวแล้วนี้ยังมีแพทย์ต่างชาติอีก คือ จีน พม่า แขก เปนต้น ล้วนเปนวิธีแพทย์แผนโบราณ อาจมีได้โดยประเภทต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว การเบียดเสียดในทางเลี้ยงชีพ ทำให้คนกล้าหลอกลวงและเห็นแต่จะได้ยิ่งขึ้น เปนการจำเปนอย่างยิ่ง

 

 

329 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

ที่รัฐบาล จักต้องเข้าครอบงำ เพื่อสงวนชีวิตประชาชน...เหตุฉะนั้นกระทรวงมหาดไทยมีกรมสาธารณสุขเปนเจ้าน่าที่จึ่งได้ดำริออกพระราชบัญญัติการแพทย์ เพื่อที่จะได้ตรวจตราป้องกันการทุจริตในทางแพทย์...

 

การรักษาพยาบาลของแพทย์แผนไทยจะมีความชำนาญในการรักษาอาการภายใน ไม่ถนัดในการผ่าตัดและการเย็บ ดังที่พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ ทรงพระนิพนธ์ในเรื่องแพทย์หมอไว้ตอนหนึ่งว่า

 

...การพยาบาลของแพทย์ที่ทำตามตำราทางมคธ ได้เป็นธุระรักษาชำนิชำนาญอยู่ในเมืองเรานั้น ก็คือ การครรภ์รักษาที่ใช้นอนเพลิงและโรคที่ชำรุดภายใน เช่น วัณโรคภายใน โรคสีดวง โรคบิดหรือตาลทรางของเด็ก...ซึ่งรวมว่าธาตุทั้งสี่หย่อนลง พิการไป กำเริบขึ้น จึงเป็นโรค ทั้งปวงนี้เป็นพนักงานของหมอยา แต่การเกิดอันตรายพลาดพลั้งภายนอก เช่น ตกที่สูง แขนหัก ขาหัก หรือถูกคมอาวุธบาดแผลสด ๆ ซึ่งเป็นการเซอเยอรีผ่าตัดเย็บผูก มักเป็นธุระของหมอเสกเป่า เขาใช้เข้าเฝือกเสกน้ำมันงาดิบ เรียกน้ำมันประสานและอื่น ๆ ให้ทาเป็นพื้นของราษฎร ไม่เป็นหน้าที่ของหมอยา ครั้นบัดนี้ก็ให้ชาวยุโรปรักษาบ้าง หมอฝรั่งโปรตุเกสที่อยู่ในกรุงสยามมาช้านานแล้วนั้นรักษาบ้าง เพราะเหตุว่าวิชาผ่าตัดเย็บผูกของแพทย์อย่างสยามนี้ ไม่ใคร่มีตำรับตำรา การพยาบาลไข้เจ็บของแพทย์สยามที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ก็มิได้รวมกันหมด แบ่งตามถนัดเป็นหมอผู้ใหญ่พวกหนึ่ง รักษาแต่ผู้ใหญ่ หมอนวดอีกพวกหนึ่งสำหรับบีบนวด...หมอกุมารอีกพวกหนึ่งรักษาแต่เด็กทั้งสิ้น...หมอตาก็แยกไปอีก หมอพวกนี้ถ้าจะเป็นธุระของหมอผู้ใหญ่ก็ได้ หมอบาดแผลหรือหมอฝีอีกพวกหนึ่ง หมอทรพิษเป็นธุระโรคฝีดาษ หรือโรคอะไรที่เป็นเม็ดไปทั้งตัว หมอพวกนี้ใช้ทั้งยาและเวทมนต์ด้วย แต่ตั้งแต่มีการปลูกฝีดาษแล้วก็ลดน้อยลงเสื่อมไปก็ว่าได้...ยังมีหมออีกพวกหนึ่งเรียกหมอพยุงครรภ์ พวกนี้ไม่น่ารู้สึกว่าหมอเลย ถ้ามีหมอยาดี ๆ สักคนหนึ่งแล้วพวกนี้เกือบจะเป็นแต่คนสำหรับใช้ทำการสกปรกแทน...

 

หากจะแบ่งประเภทใหญ่ ๆ หมอแผนโบราณ มี 2 ประเภทคือ หมอหลวงและหมอเชลยศักดิ์

หมอหลวง คือหมอที่รับราชการอยู่ในสังกัดกรมราชแพทย์ มีหน้าที่รักษาพระมหากษัตริย์ และรักษาตามพระบรมราชโองการ แพทย์นี้มักได้รับพระบรมราชโองการให้ประกอบพระโอสถและบันทึกขึ้นเป็นตำรับยาหลวง เช่น ตำราพระโอสถสมเด็จพระนารายณ์ ตำราพระโอสถ ครั้งรัชกาลที่ 2 ตำรายาพระองค์เจ้าสายสนิทวงษ์ เป็นต้น หมอหลวงจะได้รับสิทธิพิเศษเหนือกว่าหมออื่น คือ สามารถเก็บสมุนไพรตามบ้านหรือในที่ใด ๆ ได้ โดยมีกระบองแดง เป็นสัญลักษณ์ หรือมีใบบอกไปยังหัวเมืองอื่น ๆ เพื่อให้ส่งสมุนไพรประจำถิ่นนั้น ๆ มาเมืองหลวง

 

 

330 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

โดยมีความชำนาญในการรักษาเฉพาะทาง

 

หมอเชลยศักดิ์ คือหมอที่ไม่ได้รับราชการ หรือเรียกว่าหมอราษฎร์ เป็นหมอพื้นบ้านทั่วไป แต่ก็มีสิทธิ์ที่จะเป็นหมอหลวงได้ หากมีความชำนาญในการรักษา และได้รับการแต่งตั้ง ทั้งนี้ หากหมอเชลยศักดิ์ท่านใดมีความชำนาญสามารถรักษาโรคได้หาย ก็จะมีการบอกปากต่อปากเชิญให้มารักษาทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง และชาวบ้านทั่วไป นอกจากนี้ยังมีหมอพระ หมอกลางบ้าน ที่มีความรู้สรรพคุณของสมุนไพรในการรักษาโรค พอจะใช้ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ กล่าวถึงหมอเชลยศักดิ์ว่า มักจะรักษาแทบทุกอย่าง แต่ไม่ใคร่เห็นมีฝีมือดีเลย และเป็นด้วยห่างเหินต่อไข้เจ็บและไม่มีครูดีอย่างไร ถ้าเป็นผู้มีฝีมือดีก็มักจะเข้ารับราชการเสียแทบทั้งนั้น หมอเชลยศักดิ์ที่รักษาชำนาญอย่างเดียวก็มีบ้าง แต่มักเป็นเชื้อสายศิษย์หมอหลวงโดยมาก(3)

ในส่วนของหมอหลวงนั้น แบ่งประเภทตามความชำนาญในการรักษาไว้หลายสาขา อาทิ ในพระไอยการนาพลเรือน ที่ปรากฏในกฎหมายตราสามดวง ระบุศักดินาของบุคคลที่รับราชการในสังกัดกรมแพทย แพทยาหน้า กรมแพทยาหลัง กรมพระโอสถ กรมหมอยา หมอกุมาร กรมหมอนวด กรมหมอตา กรมหมอวรรณโรค (วัณโรค) ส่วนที่ปรากฏในเอกสารตำรายาในสมัยอยุธยาก็มีทั้งกรมหมอฝรั่ง มังสี และหมอแผนจีน

 

การสืบทอดวิชาความรู้

การสืบทอดมักเป็นไปภายในตระกูล ระหว่างปู่ - พ่อ - ลูก - หลาน หรือผู้ใกล้ชิด เช่น ลูกเขย เรียกว่าเป็นการสืบทอดวิชา หมอบางคนเคยเป็นลูกมือของแพทย์อื่นมาเป็นเวลาหลายปี มีความคุ้นเคยและเห็นการพยาบาลมามาก เมื่อมีความชำนาญก็เริ่มต้นรักษา ตัวอย่างเช่น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านวม กรมหลวงวงษาธิราชสนิท เป็นแพทย์หลวงและทรงกำกับกรมหมอ พระโอรสผู้สืบทอด คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงษ์ ซึ่งต่อมาได้เป็นผู้บัญชาการกรมหมอ และเป็นแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 ทรงเป็นแพทย์หลวงในราชสำนัก ต้นราชสกุลปราโมช ผู้ที่สืบทอดคือ หม่อมเจ้ากรรมสิทธิ์ แต่มิได้รับราชการเป็นหมอหลวง เพียงเป็นหมอเชลยศักดิ์ และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ซึ่งทรงศึกษาวิชาแพทย์แผนไทยกับพระยาพิศนุประสาทเวช หัวหน้าหมอหลวงในสมัยรัชกาลที่ 6

วิธีเล่าเรียนแต่เดิมนั้น นอกจากการถ่ายทอดในตระกูลแล้ว ยังมีการถ่ายทอดระหว่างครูกับศิษย์ ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ต้นไม้ต่าง ๆ ที่ใช้เป็นยา การเก็บรักษา การปรุงยา อัตราส่วนของสมุนไพรที่นำมาปรุงเป็นยา ซึ่งต้องอาศัยการสังเกตสมุนไพรจดจำเอาเอง และศึกษาจากตำราแพทย์ คัมภีร์แพทย์ คัมภีร์สรรพคุณยา และขั้นสุดท้ายคือการตามครูไปเยี่ยมคนไข้ ที่เรียกว่า ถือล่วมยา คอยติดตามรับใช้ สังเกตวิธีการรักษา จนมีความชำนาญถึงขั้นที่รักษาเองได้ หลักสูตรของครูบางท่านอาจจะมีการสอนวิชาไสยรักษ์ให้ด้วย คือการรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยคาถาอาคม ดังความตอนหนึ่งในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ว่า

 

 

331 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

ผู้ใดจะเรียนรู้              พิเคราะห์ดูผู้อาจารย์

เที่ยงแท้ว่าพิสดาร         ทั้งคุณไสยจึงควรเรียน

สักแต่เป็นแพทย์ได้        คัมภีร์ไสยไม่จำเนียร

ครูนั้นไม่ควรเรียน          จะนำตนให้หลงทาง

 

การเรียนการสอน ครูจะสอนให้รู้จักสมุนไพรและสรรพคุณยาต่าง ๆ ก่อน จึงศึกษาคัมภีร์ ลักษณะไข้อาการที่เป็น คัมภีร์ในเบื้องต้นประกอบด้วยสมุฏฐานวินิจฉัย ธาตุวินิจฉัย โรคนิทาน ปฐมจินดา มหาโชตรัต ตักกะสิลา สาโรธ รัตนมาลา ชาดาร ติจรณสังคหะ ปุจฉาปักขินธิกาพาธ เป็นลำดับ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ ทรงอธิบายไว้ว่า ถ้าได้ดูตำราของพระยาจันทบุรี (กล่อม) แล้ว ก็จะเว้นได้หลายคัมภีร์ เมื่อจำอาการเค้าเงื่อนได้แล้ว ก็ไปดูอาการคนไข้ ให้อาจารย์แนะนำเทียบอาการ จนเคยเห็นตายหรือหายอย่างใดแล้ว จึงออกรักษา

การรับรองว่าสำเร็จการเรียนแพทย์นั้น ในสมัยก่อนยังไม่มีการรับรองอย่างชัดเจน อย่างที่กล่าวไว้ว่า ใคร ๆ ก็ตั้งตนเป็นหมอได้ ซึ่งเป็นข้อน่าวิตก ในเวชชปุจฉาของพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ ซึ่งเขียนเป็นคำถาม คำตอบ เกี่ยวกับการเจ็บป่วย และการรักษาของหมอนั้น กล่าวถึงการหาหมอมารักษาว่าควรจะหาหมอที่ศึกษาคัมภีร์แพทย์ มีความชำนาญในการรักษาโรค

 

...ถาม เอ๊ะ ถ้าอย่างนั้น การที่จะหาหมอมาพยาบาลไข้ มิเป็นการน่ากลัวเจียวนักหรือ ยากที่จะวางยาให้เป็นที่มั่นคงได้

ตอบ ยังนั้นซิ การที่จะหาหมอมารักษานั้น เป็นการยากอย่างยิ่ง ด้วยชีวิตของมนุษย์เป็นของหายาก เพราะมีด้วยกันคนละหนเท่านั้น แต่ข้าพเจ้าขอเตือนท่านว่า ถ้าจะหาหมอมาแล้ว ก็ต้องดูหมอที่เป็นผู้รู้จริง ๆ คือ ผู้ที่ได้ศึกษาในเวชชศาสตร์โดยชำนิชำนาญ เช่น วิญญูแพทย์ สิกขแพทย์ สัมพันธแพทย์ หรือคำสามัญเรียกว่าคงกะเรียนฉะนั้นถ้าจะหาหมอที่ไม่รู้คัมภีร์แพทย์ เป็นแต่ งู ๆ ปลา ๆ มาแล้ว จะได้รับเสียใจเมื่อภายหลังเป็นแท้ เพราะเช่นนั้นท่านไม่รู้หรือเมืองยุโรปนั้น หมอเขาจึงได้มีหนังสือคู่มือฉบับหนึ่ง ที่เรียกว่าเซอร์ติฟิเคตนี้ ถ้าผู้ใดได้ร่ำเรียนในแพทย์ศาสตร์ไล่ได้โดยชำนาญแล้ว เขาก็ได้หนังสือฉบับนี้สำหรับตัวเป็นคู่มือฉบับ ๆ เพื่อจะได้เที่ยวรักษาโรคมิให้คนทั้งหลายมีความรังเกียจ แสดงความว่าผู้นั้นได้สอบไล่แล้วว่าเป็นหมอได้ ก็ในสยามประเทศซึ่งเป็นพระราชอาณาเขตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรานี้ การสอบไล่ในวิชาแพทย์ยังไม่มี...(4)

 

แม้ในสมัยที่ยังไม่มีการสอบไล่ในโรงเรียนแพทย์ แต่พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่น-จรัสพรปฏิญาณ กล่าวว่า สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือสัญญาบัตรพระราชทานให้แก่หมอหลวงนั้น เท่ากับเป็นการรับรองวิทยฐานะในภูมิความรู้ทางด้านการแพทย์เช่นกัน

 

 

332 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

การแพทย์แผนไทยในสมัยต่าง ๆ

1. ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา

อโรคยาศาล ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7(5) ซึ่งปรากฏในศิลาจารึก เรียกว่า ศิลาจารึกโรงพยาบาล มีข้อความกล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า พระมหากษัตริย์ การจัดระเบียบของสถานพยาบาล การเบิกจ่ายอาหารและยาจากท้องพระคลังหลวง มีชื่อยา ชื่อสมุนไพร และสิ่งของ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส สันนิษฐานว่า คนไข้ที่มารับการรักษาที่อโรคยาศาลจะพักในสถานพยาบาลที่สร้างจากไม้ ไม่ได้พักอาศัยอยู่ในสิ่งก่อสร้างที่สร้างด้วยศิลาแลง เนื่องจากเป็นที่สำหรับพระผู้เป็นเจ้า และประดิษฐานรูปเคารพ ศิลาจารึกที่พบ ณ ปราสาทตาเมียนโตจ จังหวัดสุรินทร์ กล่าวสรรเสริญพระเกียรติยศของพระบาทชัยวรมันที่ได้จัดสร้างโรงพยาบาลรักษาคนไข้ รวมถึงสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรค จำนวนโรงพยาบาล 102 โรง พระแท่นในโรงพยาบาลเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 798 องค์ จำนวนข้าวสารที่นำมาเลี้ยงคน ปีละ 117,200 ขาริกา ทั้งระบุจำนวนชาวนาที่ทำนาเพื่อส่งข้าวให้โรงพยาบาล จำนวนหมู่บ้านของชาวนา เป็นต้น มีการสร้างพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา (แปลว่า ครูแห่งโอสถทั้งหลายมีรัศมีประดุจดังไพฑูรย์)

ราตรี วานิชลักษณ์ สอบถามอาจารย์ประสาร บุญประคอง ผู้เชี่ยวชาญการอ่านจารึกได้ความว่า จารึกสมัยสุโขทัยเท่าที่พบ ไม่ปรากฏจารึกเกี่ยวกับการรักษาโรคภัยไข้เจ็บหรือวิชาแพทย์ แต่มีจารึกก่อนสมัยสุโขทัย หลักที่ 109 จารึกบนวัตถุสัมฤทธิ์รูปคันฉ่องที่พบในจังหวัดปราจีนบุรี พ.. 1936 ปรากฏข้อความว่า 1115 ศก พระไทธรรม (สิ่งของพระราชทาน) ของพระบาทกมรเตง อัญศรีชยวรม ทรงมอบให้พระโรคยาศาล (โรงพยาบาลอันประเสริฐ) ณ ศรีวัดสปุร(6)

จารึกวัดป่ามะม่วง ของพระมหาธรรมราชาลิไท (ครองราชย์ พ.. 1890 - 1919) ซี่งมี 3 หลัก จารึกภาษาไทย เขมร และบาลี (อักษรขอม) ระบุปีในจารึก 1904 กล่าวถึงสวนสมุนไพรบนเขาหลวง หรือเรียกว่าเขาสรรพยา

ด้วยความเชื่อว่า ความเจ็บป่วยเกิดจากการกระทำของภูตผีปีศาจ จึงมีข้อความแสดงความนอบน้อมบูชา ดังความหนึ่งในไตรภูมิพระร่วงว่า ผิแลว่าผู้ใดไปไหว้นบ คำรพบูชาแก่กงจักรแก้วนั้นด้วยข้าวตอกดอกไม้ แลกงจักรนั้นเพียรย่อมบำบัดเสียซึ่งความไข้เจ็บ

 

2. สมัยกรุงศรีอยุธยา

มีตำนานกล่าวถึงสาเหตุการอพยพและสร้างเมืองใหม่ของพระเจ้าอู่ทองว่า เมืองเดิมเกิดภัยพิบัติโรคห่าระบาด7 ต่อมา พ.. 1997 ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เกิดไข้ทรพิษระบาด ดังความในพงศาวดารว่า ครั้งนั้นคนทั้งปวงเกิดทรพิษตายมากนัก.. 2016 เริ่มมีชาวตะวันตกเดินทางมายังดินแดนสุวรรณภูมิ ชาติแรกที่เข้ามาคือ โปรตุเกส เข้ามาเผยแผ่ศาสนา รับราชการ และตั้งถิ่นฐานอยู่ในกรุงศรีอยุธยานับร้อยคน ในปี พ.. 2202 มี ตำราพระโอสถพระนารายณ์ โดยบรรดาแพทย์ในสมัยนั้นแต่งขึ้นถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เจ้าของตำรายาระบุว่าได้ทดลองใช้และได้ผลมาแล้ว มีทั้งแพทย์แผนไทยที่เป็นแพทย์หลวง แพทย์

 

 

333 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

เชลยศักดิ์ แพทย์จีน อินเดีย และชาวตะวันตก ส่วนแพทย์ในราชสำนักนั้นก็มีทั้งชาวฝรั่งเศสและฮอลันดา(8) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่า

 

...หนังสือที่เรียกว่าตำราพระโอสถพระนารายณ์นี้คือตำราโอสถ ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หอพระสมุดฯ ได้ต้นฉบับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ซึ่งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทรประทานมาเป็นหนังสือคัมภีร์ลานผูก 1 มีตำราพระโอสถซึ่งหมอหลวงได้ประกอบถวายสมเด็จพระนารายณ์หลายขนาน ปรากฏชื่อหมอ วันที่ตั้งพระโอสถนั้น ๆ จดไว้ชัดเจน อยู่ในระหว่างปีกุน จุลศักราช 1021 คือระหว่างปีที่ 3 จนถึงปีที่ 5 ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ประหลาดที่มีตำราขี้ผึ้งรักษาบาดแผลของหมอฝรั่งประกอบถวายในครั้งนี้ด้วย ขี้ผึ้งตามตำรานี้ หมอฝรั่งพวกกุฎีจีนยังใช้รักษากันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

 

ตำราพระโอสถทั้งปวง พึ่งรวบรวมเข้าคัมภีร์ในชั้นหลัง จะเป็นในราวรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระหรือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ด้วยมีเนื้อตามปรากฏในยาขนานที่ 22

 

มีเนื้อความปรากฏในยาแก้ขัดปัสสาวะ ว่า

 

...ให้เอาใบกะเพราเต็มกำมือหนึ่ง ดินปะสิวขาวบด ใบชาต้มเปนกระสาย ละลายถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงนิพพานท้ายสระ(9) ให้เสวย เมื่อเสวยพระโอสถแล้วกราบทูลให้เสวยพระสุธารสชาตามเข้าไปภายหลังอิก 2 ที 3 ที ซึ่งขัดปัสสาวะนั้นไปพระบังคนเบาสะดวก ข้าพระพุทธเจ้า พระแพทย์โอสถฝรั่ง ประกอบทูลเกล้าฯ ถวาย ได้พระราชทานเงินตราชั่ง 1...(10)

 

ส่วนเมสี(11) ซึ่งต่อมากลายเป็นราชทินนามแพทย์ฝรั่งนั้น ท่านผู้นี้มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์ เมสี หรือ Moses เป็นบุตรออกพระยาแพทยโอสถ ทำหน้าที่แพทย์จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ มีชื่อเสียงจนเป็นส่วนหนึ่งของทินนามแพทย์ฝรั่งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ปรากฏนามอยู่ในตำราพระโอรสพระนารายณ์โดยประกอบยาขี้ผึ้งปิดฝี ดังมีความว่า...ข้าพระพุทธเจ้า เมสี หมอฝรั่ง ประกอบทูลเกล้าฯ ถวาย สำหรับปิดฝีเบื่อยเน่าบาดเจ็บใหญ่น้อย ให้ดูดบุพโพกัดเนื้อ เรียกเนื้อ ด้วยสีผึ้งเขียวใช้กัด สีผึ้งแดง เรียกเนื้อ สีผึ้งขาว แก้พิศม์ เลือกใช้เอาเถิดฯ...

.. 2205 เริ่มมีการติดต่อกับฝรั่งเศส ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งพบว่าหลักฐานทางการแพทย์ส่วนใหญ่ เป็นบันทึกของชาวต่างประเทศที่เดินทางมาในสมัยนั้น เช่น จดหมายเหตุลาลูแบร์ แต่การรักษาแบบแพทย์แผนไทยในสายตาชาวตะวันตกที่บันทึกไว้ อาจจะเข้าใจไม่ถูกต้องทีเดียวนัก พ.. 2205 มองเซนเยอร์ ลังแบรต์ เดน ลามอตต์ (Lambert de Lamotte) พร้อมด้วยมิชชันนารีผู้ช่วยสองคนเข้ามาทางเมืองตะนาวศรี และน่าจะนำความรู้

 

 

334 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

ทางการแพทย์ตะวันตกเข้ามาใช้รักษาพร้อมกับเผยแผ่คำสอนทางศาสนาไปด้วย ส่วนรายงานของมิสซิย็องฟรังแซส (Mission of France) .. 2222 บอกว่า ห้าปีก่อนนั้นได้ขยายโรงพยาบาลอยุธยาขึ้นด้วยการสร้างตึกเพิ่ม มีคนไข้ประจำ 50 ถึง 90 คน และคนไข้ไปมาวันละ 200 ถึง 300 คน ใน พ.. 2225 ม.ลาโน ได้หาแพทย์ชาวสวิสเข้ามาอบรมวิชาศัลยศาสตร์แก่แพทย์ของเขา และได้ถวายความเห็นต่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงสร้างโรงพยาบาลใหญ่ในกรุงศรีอยุธยาทำนองเดียวกับโอปิตัล เดอ ดิเออ ในปารีส แต่ไทยปฏิเสธ ในบันทึกระบุว่า มิชชันนารีฝรั่งเศสมีโรงพยาบาลเล็ก ๆ อยู่ที่ชานเมืองอีกสองโรง และสั่งตัวยาจากประเทศฝรั่งเศสเข้ามาใช้ มีควินีน อะโลเอ (ยาดำ) และเซ็นนา (ใบมะขามแขก) อยู่ด้วย ส่วนบันทึกของลาลูแบร์ กล่าวถึงการรักษาพยาบาลของชาวสยามที่ต่างกับวิธีการทางตะวันตก

กฎหมายพระธรรมนูญซึ่งตราขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ระบุถึงคนเก็บยาว่า มาตรา 25 ตราคนมือขวาถือฆ้อนระวังขุนเทเพนทรเทพบดีศรีสมุหะ พระตำรวจหลวงกลางได้ใช้ไปแก่กรรมการ แลหัวเมืองเล็ก เรียกสิ่งยา สิ่งดี เลือด มัน ตับ พุง และยางแต้วหางยูง(12) ในคำให้การของขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม (คำให้การขุนหลวงหาวัด) กล่าวว่า ในปลายสมัยอยุธยา บนเกาะเมืองมีร้านขายยาเครื่องสมุนไพรให้แก่ชาวบ้านทั่วไป ที่ถนนป่ายา มีร้านขายเครื่องเทศ เครื่องไทย ครบสรรพคุณยาทุกสิ่ง ชื่อตลาดป่ายามีโรงทำยาหลวง เรียกว่า โรงพระโอสถ มีโรงพระโอสถตั้งอยู่หน้าสวนองุ่น โรงพระโอสถหลวงนี้ นอกจากจะปรุงยาใช้ในพระราชวังแล้ว ยังเตรียมยาสำหรับใช้ในกองทัพยามสงครามด้วย มีพระยาแพทยพงศาวิสุทธาธิบดี เป็นผู้กำกับ

 

3. สมัยกรุงธนบุรี

เมื่อคราวเสียกรุงแก่พม่า ตำราแพทย์ในโรงพระโอสถคงถูกเพลิงเผา หมอหลวงในราชสำนักล้มตาย สูญหาย หรือถูกกวาดต้อนไป สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงฟื้นฟูงานสาขาต่าง ๆ และรวบรวมเอกสารตำรายามาจากหัวเมืองและหมอพื้นบ้านทั่วไป มีพระโอรสของพระเจ้ากรุงธนบุรี 4 พระองค์ เรียนแพทย์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

1) สมเด็จเจ้าฟ้าชายทัศพงศ์ ภายหลังเป็นพระพงศ์นครินทร์ ผู้รวบรวมตำรายาต่าง ๆ ไว้

2) พระองค์เจ้าหนูแดง ในสมัยรัชกาลที่ 3 ดำรงตำแหน่ง พระยาบำเรอราชแพทย์ ในคราวบูรณะวัดพระเชตุพนฯ มีหน้าที่เป็นแพทย์ใหญ่คุมจารึกตำรายาแพทย์แผนไทย

3) พระองค์เจ้าชายละมั่ง เป็นหมอหลวง ได้เป็นพระยาสัมบัติธิบาล เป็นผู้หนึ่งที่แต่งโคลงท่าฤๅษีดัดตนที่วัดพระเชตุพนฯ ในสมัยรัชกาลที่ 3(13)

4) พระอินทรอภัย มีความเชี่ยวชาญเรื่องการนวด มีตำแหน่งเป็นหมอหลวง ภายหลังถูกประหารด้วยถูกกล่าวหาว่าเป็นชู้กับเจ้าจอม เมื่อ พ.. 2355

 

4. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

การแพทย์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สืบเนื่องมาจากการแพทย์ในสมัยอยุธยา แม้ว่าหมอหลวงและตำรายาหลวงจะสูญหายพลัดพรากไปเมื่อคราวเสียกรุง แต่ยังมีหมอกลางบ้าน ตามหัวเมือง หรือเรียกว่าหมอเชลยศักดิ์ และพระภิกษุที่มีความรู้ทางยา

 

 

335 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

1) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 (.. 2325 - 2352)

พระองค์ย้ายเมืองหลวงมาฝั่งบางกอก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมตำราวิชาต่าง ๆ ที่สูญหายเมื่อครั้งเสียกรุง ศิลาจารึกวัดพระเชตุพนฯ ระบุหลักฐานว่าทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งตำรายาและรูปฤๅษีดัดตนไว้ตามศาลาราย มีการจัดตั้งกรมหมอโรงพระโอสถ

2) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 (.. 2352 - 2367)

การแพทย์แผนไทยมีการฟื้นฟูขึ้นมาก พ.. 2356 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระพงศ์-นรินทร์ราชนิกูล พระโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แพทย์หลวง สืบเสาะรวบรวมตำรายาที่สูญหาย รวบรวมและคัดเลือกตำรายา บันทึกในชื่อว่า ตำราพระโอสถครั้งรัชกาลที่ 2 (แต่มีการพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ พ.. 2459 โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส)

กฎหมายพนักงานโอสถเสวย ในสมัย ร.2 พ.. 2359 แสดงให้เห็นความสำคัญของการปรุงยา ที่ต้องมีความรับผิดชอบ และได้รับความไว้วางพระราชหฤทัย

 

แลเจ้าพนักงานพระโอสถเสวย ถ้าเป็นพระโอสถน้ำใส่โถขวดแก้ว ๆ ใส่ถุงปิดตราจงมั่นคง ถ้าเจ้าพนักงานมิเชิญไว้ดังนี้ โทษเฆี่ยน อนึ่ง ถ้าจะประกอบพระโอสถอย่าประมาท ต้องให้บริสุทธิ์ ถ้ามิบริสุทธิ์ ผู้ประกอบโทษเฆี่ยนตัดมือ ถ้าจะประกอบพระโอสถนั้น อย่าให้ผู้อื่นนอกกว่าผู้กำกับ เข้าไปนั่งใกล้เคียงเป็นอันขาด ถ้าผู้อื่นจะเข้าไปใกล้เคียงไซร้ ผู้เข้าไปใกล้เคียงแลเจ้าพนักงานโทษเฆี่ยนริบราชบาตร ถ้าประกอบพระโอสถให้เศร้าหมองมีมณฑิลอุปัทะวไซร้ โทษถึงตาย อนึ่งผู้ใดไปใกล้เคียงทำให้พระโอสถเป็นมณฑิลอุปัทะวได้ไซร้ ผู้ทำแลเจ้าพนักงานโทษถึงตาย ถ้าเจ้าพนักงานแสร้างแกล้งประกอบให้เป็นมณฑิลอุปัทะวโดยไซร้ โทษตายทั้งโคตร อนึ่งพระโอสถประกอบแล้วให้ผู้แต่งแลผู้กำกับทาบดู ให้สนิทจงดี ถ้ามิสนิทผิดข้อใดไซร้ โทษผู้แต่งกำกับเทียบทานนั้นดุจกันทุกข้อ...

 

.. 2363 เกิดโรคห่า ราษฎรตายประมาณสามหมื่นคน

พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงปฏิสังขรณ์วัดจอมทอง ถวายเป็นพระอารามหลวง รัชกาลที่ 2 พระราชทานนามว่า วัดราชโอรส มีการจารึกตำรับยา ตำราหมอนวด รูปปั้นฤๅษีดัดตนที่วัดราชโอรส หลังการระบาดของโรคห่า หรืออหิวาตกโรคหนึ่งปี

3) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 (.. 2367 - 2394)

ฟื้นวิทยาการสาขาต่าง ๆ จารึกบนแผ่นหินประดับที่วัดพระเชตุพนฯ พระยาบำเรอราชแพทย์ เป็นผู้เสาะหาตำราจากหมอหลวง หมอพระ และหมอเชลยศักดิ์ มีการประกาศขอตำรายาดี และผู้ที่นำตำรายานั้นมาต้องสาบานว่ายาขนานนั้น ๆ ตนใช้มาก่อนและใช้ได้ผลดี โดยพระยาบำเรอราชแพทย์นำมาตรวจสอบก่อนจะนำมาจารึก วิชาแพทย์แผนไทย ที่จารึกไว้

 

 

336 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

336_จารึกตำรับยา วัดราชโอรส

จารึกตำรับยา วัดราชโอรส

 

ที่วัดพระเชตุพนฯ แสดงให้เห็นการค้นคว้าของแพทย์แผนไทยที่สำคัญที่สุด ที่มีการบันทึกหลักฐานไว้อย่างชัดเจน อันเกิดจากความร่วมมือของหมอต่าง ๆ ในสมัยนั้น

.. 2371 มิชชันนารีอเมริกันเข้ามาเผยแผ่คริสต์ศาสนา (ดูรายละเอียดในบทที่ 7 ประวัติการแพทย์ในประเทศไทยโดยคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนต์)

..2375 มีการปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ให้รวบรวมสรรพความรู้ต่าง ๆ มาจารึกลงบนแผ่นศิลาประดับไว้รอบระเบียงวัด อย่างวิชาหนังสือ ความรู้เรื่องโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน วิชาช่าง และวิชาแพทย์ ซึ่งจารึกตำรับยาและโคลงภาพฤๅษีดัดตน เป็นการเป็นแพร่ความรู้ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เข้ามาศึกษาโดยทั่วถึง แทนตำรายาที่เคยปิดกั้นจำกัดการถ่ายทอดในตระกูลและเฉพาะบุคคล

หมอบรัดเลย์เป็นมิชชันนารีกลุ่มที่ 3 ที่เข้ามา เปิดโอสถศาลาที่ใต้ถุนบ้านพักเหนือวัดเกาะ สำเพ็ง หมอบรัดเลย์นำการรักษาด้วยวิธีสมัยใหม่ และเริ่มการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ ในจดหมายเหตุระบุว่า วันที่ 2 ธันวาคม พ.. 2379 เป็นวันแรกที่หมอบรัดเล ได้เริ่มปลูกฝีกันไข้ทรพิษโดยวิธีฉีดหนองเชื้อเข้าไปในแขนของเด็ก ๆ ประมาณ 15 คน...” กรมหลวงวงษาธิราชสนิท(14) ทรงเป็นเจ้านายไทยกลุ่มแรก ๆ ที่ศึกษาหาความรู้ตามแบบตะวันตกจากมิชชันนารี โดยเฉพาะการแพทย์ตะวันตก ต่อมาหมอบรัดเลย์ย้ายบ้านและโอสถศาลาไปอยู่ข้างวังกรมหลวงวงษาฯ ที่ปากคลองบางหลวง

วันที่ 13 มกราคม พ.. 2379 มีงานฉลองวัดประยุรวงศาวาส เกิดอุบัติเหตุปืนใหญ่ระเบิด คนตาย 4 คน และบาดเจ็บจำนวนมาก หมอบรัดเลย์รักษาพระสงฆ์ไทยองค์หนึ่งซึ่งกระดูกแขนแตก โดยการผ่าตัดแขน รักษาไม่นานเท่าใดก็หายดี

.. 2385 สถาปนาพระองค์เจ้าชายนวม เป็นกรมหมื่นวงษาสนิท เจ้ากรมหมอหลวง พระชนมายุ 34 พรรษา เจ้านายพระองค์นี้ทรงมีความรู้ทั้งแพทย์แผนไทยและตะวันตกอย่างดียิ่ง ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับประกาศนียบัตรทางการแพทย์ถวายเป็นพระเกียรติยศ และเป็นสมาชิกของสถาบันการแพทย์แห่งนิวยอร์ก ทรงแต่งตำราสรรพคุณยา และรวบรวมตำราโอสถพระนารายณ์ ตำรายาครั้งรัชกาลที่ 2 ไว้ด้วย ทรงประยุกต์ใช้ยาไทยและยาฝรั่งในการรักษาโรค อย่างนำควินินมาผสมในยาลูกกลอนของไทย พระองค์คิดยาแก้ไข้จับสั่นสูตรใหม่ โดยใช้ยาไทยให้คนป่วยถ่ายท้องและอาเจียน งดของแสลง และกินควินิน ดังคำโฆษณาขายยา

 

 

337 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

337_พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท

 

ในหนังสือพิมพ์ว่า...ควินินนี้ เดี๋ยวนี้มีขายที่ตึกหันแตรประมาณห้าสิบขวด เขาว่าถ้าผู้ใดซื้อทั้งหมด จะขายเป็นขวดละสิบเหรียญ ควินินในขวดเดียวหนัก 2 บาท แบ่งรับประทานได้ 480 ครั้ง พอรักษาคนไข้ให้หายขาด ประมาณ 40 คน..... 2385 เกิดไข้ทรพิษระบาด กรมหมื่นวงษาสนิท โปรดให้หมอบรัดเลย์มาปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษแก่คนในวังของพระองค์ รวมทั้งทำคลอดให้แก่ชายาคนหนึ่งของพระองค์ในปี พ.. 2395

4) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (.. 2394 - 2411)

เป็นยุคที่มีการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ อย่างมากมาย โดยเฉพาะวิทยาการทางตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ ทรงศึกษาภาษาอังกฤษ ทอดพระเนตรหนังสือจากต่างประเทศ และสนทนากับชาวต่างประเทศอยู่เนืองนิตย์ แพทย์ชาวตะวันตกที่พระองค์โปรดปรานท่านหนึ่งคือ หมอเหา นายแพทย์แซมมวล เรย์โนลด์ และทรงมีพระราชหัตถเลขาพระราชทานไปถึง พระสหายชาวต่างประเทศ อย่างบาทหลวงปาเลอกัว พระองค์ยอมรับการรักษาของแพทย์อื่น ๆ ทั้งแผนไทย จีน และตะวันตก มิใช่จะรังเกียจแผนไทยตามที่มีคนกล่าวอ้าง เห็นได้จากพระราชหัตถเลขาหลายองค์ที่ทรงกล่าวถึงการรักษาโรคด้วยแพทย์แผนไทย แผนจีน และตะวันตก ดังตัวอย่างต่อไปนี้

พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับที่ 1 ถึงเจ้าจอมมารดาผึ้ง (นามเดิมเจ้าจอมมารดาเต่า) .. 2396

 

...อาการของลูกเต่านั้น ข้าได้ไปหารือ หมออเมริกัน เขาจะให้เขารักษา เขาว่าโรคนั้นเกิดมาแก่ลูกนั้นโดยธรรมดา ช่องลมหายใจของเด็กนั้นห่างทั้งสองข้างหัวใจ จึงชักเลือดร้ายให้ปะปนกัน ดำแลเขียวไป รักษายาก เขาไม่รับรักษา ข้าก็เสียดายด้วยเปนลูกชายแล้วสงสารเต่า หนักหนา กลัวจะเสียใจนัก อย่าเสียใจเลย เปนธรรมดาของเด็กนั้นเอง...หนังสืออังกฤษน่าหลังนั้นเขาเขียนบอกมา...

 

 

338 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

พระราชหัตถเลขาฉบับที่ 4 ถึงพระองค์เจ้าปัทมราช วันพุธ แรมสามค่ำ เดือนสิบสอง ปีรกาตรีศก ศักราช 1223 (.. 2404)

 

...วันอังคารขึ้นสามค่ำเดือนสิบสอง นางแพ มารดายิ่งเยาวลักษณแลพักตรพิมลพรรณ แลเกษมสันต์โสภาคย์ แลมนุษย์นาคมานพนั้น คลอดบุตร์เปนหญิง ครรภมล (รก) ไม่ออก ตั้งแต่เวลาห้าทุ่มหกบาท ไปหมอแก้ไขหลายหมอแล้วก็ไม่ออก ครั้นเวลาเจ็ดทุ่มก็ตั้งออกตาตั้ง ครั้นเวลาสามยาม หมอบรัดเล อเมริกันเข้าชักครรภมล (รก) ออกได้ แต่เมื่อนั้นอาการชีพจรอ่อนเสียแล้ว แก้ไขไม่ฟื้น ครั้นเวลาสามยามสี่บาทก็ขาดใจตาย ได้ให้เอาศพไปฝังไว้วัดสมอราย แต่บุตรนั้นยังดีอยู่...(15)

 

พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฉบับที่ 4 ถึงพระองค์เจ้าปัทมราช เกี่ยวกับพระอาการประชวรของสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

...วังน่าเดี๋ยวนี้ท่านประชวรมาแต่เดือนเก้าข้างขึ้น...ไม่ได้เสดจไปไหนเลย ท่านบอกอาการว่าประชวรพระโรคลม ให้วิงเวียนและลมจับเนือง ๆ...กระหม่อมฉันก็เข้าไปเยี่ยม เห็นอาการท่านก็คล้ายกับปกติแข็งแรงดีอยู่ไม่โซมซูบผอมดอก เห็นเปนผิดปกติที่ผิวนั้นซีดมากอยู่เท่านั้น...วันนั้นท่านว่าขอให้หมอยาข้างวังหลวงขึ้นไปชุมนุมปฤกษา ใครจะคิดอ่านถวายยาได้บ้าง เจ้ากรมปลัดกรมหมอวังหลวงขึ้นไปชุมนุมปฤกษา คิดอ่านจะถวายยาคนละขนานสองขนาน คิดไปต่าง ๆ ยาที่คิดนั้น หมอวังน่าว่า ยาอย่างนั้นเคยถวายเสียแล้วหมดไม่ชอบพระโรค หมอก็ต้องเลิกกลับมา ในเดือนสิบสองข้างขึ้นนี้ ท่านให้มาบอกอาการว่าพระอาการนั้นมากไป เสวยไม่ได้ บรรทมไม่หลับ หมอไทยแก้มานานแล้ว อาการไม่คลาย จะขอให้หมอจีนถวายยาเปนพระโอสถต่อไป กระหม่อมฉันคิดว่า ถ้าพระโรคท่านไม่เปน เช่น อาการท่านบอก เปนเช่นเขาลือจริง หมอจีน ถวายเหนจะชอบ

 

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีความรู้ในเชิงการแพทย์ด้วย อย่างทรงจับพระหัตถ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าใย (พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) แล้วทราบว่าลมเดินไม่สม่ำเสมอ...เจ้าพี่ใยท่านประชวรมาสักสองปีแล้ว...เมื่อคราวฉันจะขึ้นมารับพระเศวตสุวรรณา ฉันไปทูลลาท่าน ได้จับพระหัตถ์ท่านดู เหนลมเดินไม่เสมอ เดิน ๆ ไปแล้วก็อยุด ฤๅเดินอยู่ก็แรง ๆ อ่อน ๆ ฉันบอกไว้แก่ผู้พยาบาลว่าพระอาการเปนอย่างนี้ แต่ครั้งนั้นท่านก็กลับคลายขึ้นมากอยู่หลายวัน ภายหลังมาประชวรหนักลง สิ้นพระชนมพ้นวันที่ฉันไปเหนประมาณสองเดือน...(16)

 

 

339 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

339_1_โรงรักษาคนไข้ที่วัดจักรวรรดิราชาวาสของพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นพิชิตปรีชากร

โรงรักษาคนไข้ที่วัดจักรวรรดิราชาวาสของพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นพิชิตปรีชากร

ที่มา : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ภ 002 กจช()6/30

 

339_2_ศาลารักษาผู้ป่วย

ศาลารักษาผู้ป่วย พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทวะวงษวโรประการ โปรดให้ตั้งที่ตำบลสังเวชวิศยาราม

ที่มา : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ภ 002 กจช()6/30

 

 

340 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

340_โรงรักษาไข้

โรงรักษาไข้

ที่มา : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ภ 002 กจช()6/29

 

 

แต่บางครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงค่อนแคะหมอไทยอยู่บ้างว่า

 

...พวกแพทย์หมอแลปากหญิงชายทั้งหลาย เจ็บอะไร ๆ ก็ว่าลมทุกสิ่งไป ด้วยตำราอ้างว่าลม 500 จำพวก จะไล่ว่าอะไรบ้าง ๆ ก็ไม่มีใครนับถูก หมอนวดทั้งกรม วังหลวง วังหลัง เมื่อตั้งชื่อก็ล้วนด้วยวาโยวาตา หมื่นวาโยรักษา หมื่นสังหารวาโย หมื่นวาโยไชยา เป็นหมอสำหรับแก้ลมจับทั้งนั้น ไม่มีอื่น ดูหนึ่งวันในวังหลวงวังหน้ามีคนเป็นลมจับวันละ 100 คน 200 คน วันใดเสวยพระโอสถทุเลา ก็ต้องชุมนุมหมอไว้ทั้งเจ้ากรม ปลัดกรม และขุนหมื่นดี ๆ กลัวจะประชวรพระวาโย ทั้งเมืองมีแต่โรคลมหมด ไม่ใคร่จะมีใครพูดถึงโรคอื่น ไข้จับหนักก็ว่าพลอยไข้ห่าไข้ประจุบันก็เรียกว่าลมมาก...(17)

 

5) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (.. 2411 - 2453)

ในรัชสมัยนี้ มีการปฏิรูปในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งกรมแพทยาโรงพระโอสถ เป็นระบบราชการแบบเก่า ก็ค่อย ๆ ถูกปรับเปลี่ยนไป แต่ยังไม่ยุบไปเสียทันทีทันใด การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ตามที่ได้กล่าวถึงลักษณะของกรมแพทยาโรงพระโอสถมาแล้ว มีกรมหมอหลวง ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย พระไอยการนาพลเรือน หมอหลวงเหล่านี้ไม่มีหน้าที่รักษาประชาชนทั่วไป ถ้าต้องการบริการรักษาจากหมอหลวง ก็ต้องว่าจ้างกันเป็นการส่วนตัว

.. 2413 หลังจากขึ้นครองราชย์ 2 ปี มีการประชุมแพทย์หลวง นำตำรายามาตรวจสอบให้ตรงกับต้นฉบับ และทรงแต่งตั้งบุคคลให้รับผิดชอบ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอักษรสาส์นโสภณ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย พระยาอมรศาสตร์ประสิทธิศิลป์

 

 

341 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

หลวงกุมารเพชร หลวงกุมารแพทย์ ขุนกุมารประเสริฐ และขุนเทพกุมาร(18) ใช้เฉพาะแพทย์หลวงและตำรายาหลวงเท่านั้น ได้นำมารวบรวมและเขียนลงในสมุดไทย เรียกว่า เวชศาสตร์ฉบับหลวง มีจำนวน 15 คัมภีร์

.. 2424 เกิดอหิวาตกโรค มีการจัดตั้งโรงพยาบาลชั่วคราวในที่ประชุมชน 48 ตำบล

.. 2430 แต่งตั้งคณะคอมมิตตีจัดสร้างโรงพยาบาล เพื่อจัดตั้งโรงศิริราชพยาบาล เปิดโรงพยาบาลในวันที่ 26 เมษายน พ.. 2431 ระยะแรกใช้แพทย์แผนไทยเป็นส่วนใหญ่ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ให้พระประสิทธิวิทยา (หนู) หมอจากวังหน้ามาเป็นแพทย์ใหญ่ โดยนำศิษย์มาเป็นแพทย์รอง 2 คนคือ หมอคงและหมอนิ่ม ปีต่อมามีการจัดตั้งกรมพยาบาล สังกัดกระทรวงธรรมการ มีหน้าที่รักษาพยาบาลผู้ป่วย ปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ จัดดูแลโรงพยาบาล แทนกรมพระโอสถเดิมที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 พ.. 2432 เริ่มการศึกษาแพทยศาสตร์ในโรงเรียนแพทยากรที่ศิริราชพยาบาล และพิมพ์ตำราแพทย์ใช้ในโรงเรียนแพทย์แพทยศาสตร์สงเคราะห์มีทั้งการแพทย์แผนไทยและตะวันตก และจัดตั้งโรงเรียนแพทยากร ในปี พ.. 2433

พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.. 2433 มีความเกี่ยวกับหมอไทยว่า

 

...ขอเตือนหมอฝรั่งนั้นดีจริง แต่ควรให้ยาไทยสูญ หฤๅหาไม่ หมอไทยควรจะไม่มีต่อไปภายหน้า หฤๅควรมีไว้บ้าง ถ้าว่าส่วนตัวฉันเอง สมัคกินยาไทย แลยังวางใจ หฤๅอุ่นใจในหมอไทยมาก ถ้าหมอไทยจะรักษาแบบฝรั่งหมด ดูจะเยือกเย็นเหมือนเห็นอื่น ไม่เห็นพระสงฆ์เลยเหมือนกัน แต่ตัวฉันอายุมากแล้ว เห็นจะไม่ได้อยู่จนหมอไทยหมดดอก คนภายหน้าจะพอใจอย่างฝรั่งกันทั่วไป จะไม่เดือดร้อนเช่นฉันดอกกระมัง เป็นแต่ลองเตือนดูตามหัวเก่า ๆ ที่หนึ่งเท่านั้น...(19)

 

.. 2435 เริ่ม สอนวิชาการแพทย์แผนไทย โดยหม่อมเจ้าเจียก ทินกร ให้กับนักเรียนแพทย์ชั้นปีที่ 3 เมื่อเปิดการเรียนวิชาแพทย์แผนปัจจุบันได้ 2 ปี กรมพยาบาลก็ได้จัดหม่อมเจ้าเจียก เจ้ากรมแพทย์สำนักพระราชวังหลวง ให้มาเป็นอาจารย์สอนวิชาแพทย์แผนโบราณประจำโรงเรียนแพทย์ แต่ไม่ปรากฏมีหลักสูตรชัดเจน และเปิดสอนการแพทย์แผนไทยในโรงเรียนแพทยากรอย่างเป็นทางการ เมื่อ พ.. 2436 ดังในประกาศของกระทรวงธรรมการ พ.. 2436 ว่า...ด้วยกำหนดโรงเรียนแพทยากรในศิริราชพยาบาล จะได้เปิดให้นักเรียนเข้าเรียนสืบไปในวันที่ 10 พฤษภาคม ร.. 110 การศึกษาวิชาแพทย์ในศกนี้ได้เพิ่มการสอนแพทย์ฝ่ายไทยในฐานวิชารักษาไข้ใช้ยาต่างแผนกหนึ่ง นอกจากวิชาแพทย์ต่างประเทศที่ได้สอนอยู่ก่อนแล้วด้วย และจะรับสมัครตามแต่ผู้ใดจะศึกษาวิชาแพทย์ในโรงเรียนนี้..(20) การดำเนินการของโรงเรียนแพทยากร มีนายแพทย์ยอร์ซ บี แมคฟาร์แลนด์ เป็นครูใหญ่ฝ่ายแพทย์ปัจจุบัน หม่อมเจ้าเจียก ทินกร เป็นหัวหน้าอาจารย์วิชาแพทย์แผนไทย หลักสูตรวิชาแพทย์แผนไทย

 

 

342 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

342_การสอน

การสอนวิชาแพทย์ฝ่ายสยาม(แพทย์แผนไทย) ในโรงเรียนแพทยากรศิริราชพยาบาล

ที่มา : สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ภ 002หวญ16/26

 

 

วิชาที่เรียนได้แก่ 1. ธาตุวินิจฉัย 2. สมุฏฐานวินิจฉัย 3. ธาตุอภิญญาณ 4. อสุรินทญาณ 5. ปฐมจินดา 6. โรคยา 7. วิชาหมอนวด

 

..อัทย์ หะสิตะเวช (หลวงวิฆเนศประสิทธิ์วิทย์) เป็นนักเรียนเลขประจำตัวเลข 1 ของโรงเรียนแพทยากร มีนักเรียนในชั้นเรียนทั้งหมด ดังนี้

1. นายอัทย์ หะสิตะเวช ต่อมาเป็น นายพันตรี หลวงวิฆเนศประสิทธิ์วิทย์

2. นายชุม ต่อมาเป็น หลวงอาจวิทยาคม

3. นายเข้ม ต่อมาเป็น เรือโท ขุนธนภารบริรักษ์

4. นายอาบ ต่อมาเป็น พระอุดมวิทยาคม (อาบ จักษุรักษ์)

5. นายผัน ต่อมาเป็น ร้อยตรี ผัน

6. นายขาว ต่อมาเป็น ร้อยตรี ขาว

7. หม่อมหลวงโต๊ะ ปาลกะวงศ์ ต่อมาเป็นร้อยเอก ขุนพลานาธินิบัติ

8. นายเกิด ต่อมาเป็น จ่านายสิบแพทย์

9. นายกลิ่น ต่อมาเป็น หลวงอนุมานแพทยากร

 

..อัทย์ หะสิตะเวช เรียนสำเร็จใน พ.. 2435 พ..อัทย์บันทึกไว้ว่าการแพทย์แผนปัจจุบันมีหลักสูตรการสอนชัดเจนดังต่อไปนี้ มีการสอนวันละ 2 ชั่วโมง ตั้งแต่ 10.00 - 12.00 น. วันจันทร์ - วิชากายวิภาคศาสตร์ อังคาร - วิชาสรีรวิทยา พุธ - วิชาผ่าตัด พฤหัสบดี - วิชาสรรพคุณยา วันศุกร์ - วิชาสูติศาสตร์ วันเสาร์ - เรียนวิชาการตรวจคนไข้และการปรุงยา ตอนบ่ายดูการผ่าตัด ปีที่ 2 เวลาบ่าย 13.00 น. ถึง 14.00 น. เรียนวิชาเคมี (ใช้ชื่อวิชาให้ตรงกับที่ใช้ในปัจจุบัน)

 

 

343 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

โรงเรียนแพทยาลัยเปิดมาได้ 10 ปี มีนักเรียนจบหลักสูตรการแพทย์ ได้แก่ แพทย์ยุโรปชั้นสูง 6 คน ชั้นสามัญ 22 คน แพทย์แผนไทย 1 คน และมีผู้ที่ยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรแต่ออกไปรับราชการอีกจำนวนหนึ่ง

.. 2437 เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) กราบทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสมมตอมรพันธุ์ ว่า กรมพยาบาลคิดจะจัดพิมพ์คัมภีร์แพทย์ทั้งไทยและฝรั่งตามที่สอนอยู่ในโรงเรียนแพทยากร เรียกว่า แพทยศาสตรสงเคราะห์

.. 2438 (.. 114) จำหน่ายหนังสือแพทยศาสตรสงเคราะห์ ตำราสำหรับแพทย์หมอและประชาชนทั่วไป คือมีทั้งตำรายาที่ได้ตรวจสอบความถูกต้องแล้ว รวมทั้งตำรานวด สรรพคุณยา ตำราเกล็ดต่าง ๆ (บางแห่งใช้ว่ายาเกร็ด) และวิชาแพทย์ฝรั่ง การผ่าตัดเย็บบาดแผล ครรภ์รักษา ตำราเครื่องยาและฤทธิ์ยาต่าง ๆ ออกในศก 114 ทุกสามเดือน

.. 2439 ตั้งโรงเรียนผดุงครรภ์ที่ศิริราชพยาบาล

.. 2443 ยกโรงเรียนแพทยากรเป็น ราชแพทยาลัย สอนทั้งแพทย์ไทยและตะวันตก

เมื่อตึกโรงเรียนราชแพทยาลัยสร้างแล้วเสร็จในปลายปี พ.. 2443 จึงพระราชทานนามโรงเรียนว่า ราชแพทยาลัย ROYAL MEDICAL COLLEGE นามราชแพทยาลัยมีมงคลอย่างยิ่ง มีความหมายว่าโรงเรียนแพทย์แห่งนี้เป็นโรงเรียนแพทย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จ-พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดตึกราชแพทยาลัย กระทรวงธรรมการได้ขอพระราชทานเครื่องหมายทรงยินดีแก่อาจารย์และพนักงาน ดังนี้

 

343_1_นายพันตรี หลวงวิฆเนศประสิทธิ์วิทย์

นายพันตรี หลวงวิฆเนศประสิทธิ์วิทย์

(อัทย์ หะสิตะเวช)

นักเรียนเลขประจำตัวเลข 1 ของโรงเรียนแพทยากร

 

 

343_2_ดังนี้

 

 

344 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

1) หม่อมเจ้าเจียก ทินกร อาจารย์ฝ่ายแพทย์แผนไทย รับราชการมา 10 ปี เอาใจใส่ทั้งแพทย์ในโรงพยาบาลและโรงเรียน เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นเสมอ ทั้งคุณวุฒิฝ่ายแพทย์ก็เชี่ยวชาญ

2) หม่อมเจ้าปราณี ทินกร สอนฝ่ายแพทย์แผนไทย รับเป็นผู้เรียบเรียงตำราแพทย์แผนไทย

3) หมอยอร์ช บี แมคฟาร์แลนด์ อาจารย์ฝรั่ง เป็นแพทย์ใหญ่รักษาการโรงพยาบาล รับราชการมานาน สอนลูกศิษย์เรียบร้อยมากจนมีศิษย์สอบไล่ความรู้ได้ไปรับราชการตามกรมกองและหัวเมืองมาก

4) หมอเฮนส์ อะดัมเสน อาจารย์สอนแพทย์ผดุงครรภ์และตรวจไข้เจ็บฝ่ายแพทย์ฝรั่ง จัดการหน้าที่เรียบร้อย สอนศิษย์จนสอบไล่ได้ออกไปทำงานในโรงพยาบาลและรักษาราษฎรเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประชาชนที่คลอดบุตร

5) หลวงไตรกิศยานุกร รับราชการมา 12 ปี เป็นผู้ตรวจการโรงพยาบาล ตลอดทุกหน้าที่ตรวจการกระทำต่าง ๆ ในออฟฟิศกลางด้วย ทั้งเป็นผู้ทราบกิจการในกรมพยาบาลโดยตลอดด้วยความขยันอุตสาหะ

หลักสูตรการศึกษา 4 ปี มีการศึกษาทั้งแพทย์แผนตะวันตกและแพทย์แผนไทย

.. 2444 เจ้าพนักงานกรมพยาบาล กระทรวงธรรมการ ดำริว่าโรงเรียนราชแพทยาลัยตั้งมาได้ 12 ปี แต่ยังไม่มีหลักตำราที่สมบูรณ์สำหรับสาธารณประโยชน์แก่แพทย์และมหาชน จึงรวบรวมพระคัมภีร์แพทย์แผนไทยทั้งปวง และตำราแพทย์ตะวันตก บรรดาที่สอนอยู่ในโรงเรียน เช่น พระตำราหลวงที่ตรวจสอบแล้ว คัมภีร์ปฐมจินดา คัมภีร์ธาตุอภิญญา คัมภีร์ธาตุบรรจบ ฯลฯ และตำราที่ได้เรียบเรียงขึ้นใหม่ รวมในชื่อว่า ตำราแพทย์ศาสตร์ ต่อจากเล่มแพทยศาสตร์สงเคราะห์ที่เลิกไป

.. 2444 เริ่มดำเนินกิจการ โอสถศาลาของรัฐบาล จ้างเภสัชกรชาวเยอรมันมาดำเนินการ

ผลิตยาตำราหลวง 8 ขนาน ยาแก้ไข (ควินิน) ยาถ่าย ยาแก้ลงท้อง ยาบำรุงโลหิต ยาแก้คุดทะราดและเข่าข้อ และยาแก้จุกเสียด (โซดามินต์) อีกหลักฐานหนึ่งระบุว่ายาตำราหลวง มียา 10 ขนาน ได้แก่ ยาหอมอินทรจักร ยาหอมนวโกฏ ยาเทพจิตรารมย์ ยานารายณ์ถอนจักร ยากำลังราชสีห์ ยาอุทัย ยาสุขไสยาสน์ ยาปัถวิธาตุพิการ ยาจันทลีลา ยาธาตุบรรจบ

.. 2446 ในบันทึกของนักเรียนแพทย์จากเวชชนิสสิต รุ่นต่อมาจนถึงรุ่นที่ 13 (สำเร็จ พ.. 2449) ก็ไม่ปรากฏบันทึกว่าได้มีหลักสูตรการสอนแพทย์แผนโบราณของไทย พระยาเวชสิทธิ์พิลาศ (จรัส วิภาตะแพทย์) กล่าวว่า แสดงว่าได้สิ้นสุดการสอนและการปฏิบัติการแพทย์ตามแพทย์โบราณประมาณ พ.. 2446 คือประมาณ 16 ปีหลังเปิดโรงพยาบาล และ 14 ปีหลังเปิดโรงเรียนแพทย์

คนไข้ที่มาโรงศิริราชพยาบาล เลือกได้ว่าจะใช้แนวแพทย์แผนไทยหรือตะวันตก ยาที่ใช้ในโรงพยาบาลจึงมีทั้งยาไทยและฝรั่ง ยาไทยจะใช้เป็นเครื่องยามาประกอบเองที่ศิริราชแล้วแจกไปตามโรงพยาบาลอื่นของกรมพยาบาล ถ้าเป็นยาต้ม ก็ให้แต่ละแห่งทำขึ้นใช้เอง ยาต้มที่ใช้

 

 

345 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

345_หนังสือแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ที่นำมาจัดพิมพ์ใหม่

หนังสือแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ที่นำมาจัดพิมพ์ใหม่

 

เป็นหลักมีอยู่ 9 หม้อคือ 1. แก้ไข้ต่าง ๆ 2. ยาหม้อหอม แก้ลมต่าง ๆ 3. แก้กษัย 4. แก้บิด 5. แก้ท้องขึ้นท้องเฟ้อ 6. ยาวัณโรค 7. แก้ข้อเข่า 8. แก้ริดสีดวง และ 9. แก้ไขตาเหลือง เสมหะ

.. 2447 ตั้งเวชสโมสรขึ้น ในกระทรวงธรรมการ ในปี พ.. 2450 พระยาพิศณุประสาทเวชขอพระอนุญาตจากพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ สภานายกหอสมุดวชิรญาณ จัดพิมพ์ตำราแพทย์ ชื่อว่าตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์สอบเนื้อหาตามฉบับหลวง แต่มีแพทย์ตะวันตกผสมผสานเข้าไปด้วย

.. 2448 กระทรวงนครบาลสั่งการให้แต่ละอำเภอสำรวจหมอยาเชลยศักดิ์นอกจากหมอหลวงในกรุงเทพฯ มีจำนวน 632 คน เป็นพระสงฆ์ 86 รูป ชาย 523 คน หญิง 21 คน

.. 2448 ทดลองตั้งแพทย์ประจำตำบลขึ้นที่มณฑลพิษณุโลก โดยตั้งหมอพื้นบ้าน สำหรับรักษาชาวบ้าน แต่ไม่ได้ผลดี

.. 2550 เปลี่ยนแปลงการตั้งแพทย์ประจำตำบล โดยแต่งตั้งหมอจากส่วนกลางไปเรียกว่าหมอหลวง มีเกียรติยศรองจากกำนันลงมา ให้รับยาจากโอสถสภาไปจำหน่ายให้ส่วนลดเป็นกำไร ฝึกหัดการปลูกฝีให้แก่ราษฎรในท้องที่

.. 2451 ปรับปรุงระบบป้องกันและรักษาโรคให้กรมพลำภัง (กรมการปกครองในปัจจุบัน) กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รับผิดชอบโอสถศาลารัฐบาลและการทำฝีหนอง กรมพยาบาลถูกโอนไปสังกัดกระทรวงธรรมการ ทำหน้าที่ด้านการศึกษา ต่อมามีการตั้งกรมพยาบาลขึ้นในกระทรวงมหาดไทย

 

 

346 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

.. 2453 มีหลักสูตรแพทย์ประกาศนียบัตร พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ทรงจัดการหลักสูตร ระหว่าง พ.. 2453 - 2557 กำหนดให้นักเรียนแพทย์ชั้นปีที่ 3 ยังต้องเรียนวิชาแพทย์แผนโบราณ

.. 2455 กระทรวงมหาดไทย แยกงานสาธารณสุขออกจากกรมพลำภังมาสังกัดกรมพยาบาลที่ตั้งขึ้นใหม่อยู่

.. 2457 เปิดการฝึกหัดแพทย์ผสมยาขึ้นในโรงเรียนราชแพทยาลัย หลักสูตร 3 ปี เป็นการผสมยาฝรั่ง แต่ก็ยังคงมีวิชาแพทย์ไทยอยู่ในหลักสูตร เผื่อไว้สำหรับให้เรียนรู้และสามารถนำยาไทยมาใช้ หากไปในท้องที่ที่ขาดแคลนยาฝรั่ง

.. 2459 ยกเลิกการสอนวิชาแพทย์แผนไทย ในโรงเรียนราชแพทยาลัย

.. 2461 รวมงานสาธารณสุขทั้งหมดเปลี่ยนชื่อกรมประชาบาล เป็นกรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย โอสถศาลารัฐบาลได้รับการยกฐานะเป็นกองโอสถศาลารัฐบาล

 

6) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 (.. 2453 - 2468)

.. 2466 ออกพระราชบัญญัติการแพทย์เพื่อควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2466

โดยให้ความจำกัดความว่า แพทย์แผนโบราณ หมายถึงผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยความสังเกตความชำนาญอันได้บอกเล่าสืบต่อกันมาเป็นที่ตั้ง หรืออาศัยตำราอันมีมาแต่โบราณ โดยมิได้ดำเนินไปในทางวิทยาศาสตร์วัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายแก่ประชาชนจากบุคคลที่ไม่มีความรู้ในทางการแพทย์ และไม่ได้รับการฝึกหัดเป็นผู้มารักษา เกิดผลกระทบต่อวงการแพทย์แผนไทยบ้าง เนื่องจากผู้ที่จะประกอบวิชาชีพจะต้องรับการอบรมและขึ้นทะเบียน แต่ก็เป็นการจำกัดมิให้ผู้ที่ไม่มีความรู้ในทางการแพทย์มาประกอบวิชาชีพแพทย์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อประชาชน (ดูรายละเอียดในภาคที่ 2 รัชกาลที่ 6 พระราชบัญญัติการแพทย์)

 

7) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 (.. 2468 - 2477)

หลังจากพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2466 กำหนดชั้นต่าง ๆ ของผู้ประกอบโรคศิลปะ ใน พ.. 2472 จึงมีกฎเสนาบดีแบ่งการประกอบโรคศิลปะเป็นแผนปัจจุบันและแผนโบราณ โดยระบุว่า

() ประเภทแผนปัจจุบัน คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยความรู้จากตำราอันเป็นหลักวิชาโดยสากลนิยม ซึ่งดำเนินและเจริญขึ้น โดยอาศัยการศึกษาตรวจค้นและทดลองของผู้รู้ในทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลก

() ประเภทแผนโบราณ คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยความสังเกตความชำนาญ อันได้บอกเล่าสืบต่อกันมาเป็นที่ตั้งหรืออาศัยตำราอันมีมาแต่โบราณ มิได้ดำเนินไปในทางวิทยาศาสตร์

พระราชบัญญัติการแพทย์ พ.. 2466 ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2466 มีผลบังคับใช้เมื่อ 16 พฤศจิกายน 2466 เป็นกฎหมายฉบับแรกที่ตราขึ้นใช้บังคับบุคคลที่กระทำการ

 

 

347 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

ประกอบกิจการรับรักษาโรคหรือบำบัดโรคให้กับประชาชน ได้ใช้ในมณฑลกรุงเทพฯ แต่ได้มีการเริ่มออกใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะครั้งแรกเมื่อ พ.. 2472 ซึ่งได้แบ่งเป็นแผนปัจจุบันและแผนโบราณ มีการแก้ไขอีก 2 ครั้ง เมื่อ พ.. 2472 และ 2479 ต่อมาได้ถูกยกเลิกโดย พ...ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2479

ยังคงมีการผลิตยาแผนไทย โดย กองโอสถศาลารัฐบาล ทั้ง 10 ขนาน อย่างต่อเนื่อง (จนถึง พ.. 2484)

.. 2475 หมอใหญ่ สีตะวาทิน และกลุ่มสนทนาธรรมสมาคม ตั้งสมาคมแพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทยขึ้น เมื่อวันที่ 5 กันยายน ที่วัดปรินายก มีวัตถุประสงค์ 5 ประการคือ 1) อบรมสมาชิกผู้สนใจให้สืบตระกูลแพทย์แผนโบราณ 2) รวบรวมตำราแพทย์แผนโบราณไว้เป็นหลักฐาน 3) แลกเปลี่ยนความรู้ทางการแพทย์ระหว่างแพทย์แผนโบราณด้วยกัน 4) เพื่อทำนุบำรุงแพทย์แผนโบราณให้มีความเจริญรุ่งเรือง และ 5) เพื่อเชิดชูเกียรติการแพทย์แผนโบราณให้ยั่งยืน และยังเป็นศูนย์รวมการสอนผู้ที่จะสอบรับใบประกอบโรคศิลปะด้วย

 

8) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ รัชกาลที่ 8 (.. 2477 - 2489)

ตราพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.. 2479 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.. 2480 โดยยังคงหลักการของพระราชบัญญัติการแพทย์ฯ พ.. 2466 คือ การควบคุมการประกอบโรคศิลปะในรูปของคณะกรรมการ แต่มีข้อแตกต่างคือ สภาการแพทย์มีฐานะทางกฎหมายเป็นนิติบุคคล แต่คณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงสาธารณสุข พ...ฉบับนี้ได้มีการแก้ไขรวมถึง 10 ฉบับ ใช้เวลาบังคับนาน 63 ปี จึงได้ถูกยกเลิกโดย พ...การประกอบโรคศิลปะ พ.. 2542

.. 2485 ตั้งกระทรวงสาธารณสุข มีข้อกำหนดเกี่ยวกับสมุนไพรว่า...จะจัดมีการตรวจค้นหาความรู้ในเรื่องสรรพคุณยาสมุนไพรและยาอื่น ๆ ในประเทศ เพื่อนำมาดัดแปลงเป็นยาแผนตะวันตกและขยายการทำยาให้มากชนิด และมีปริมาณมากขึ้น...

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ศาสตราจารย์ นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ วิจัยสมุนไพรที่ใช้รักษาบิดและไข้มาลาเรียที่โรงพยาบาลสัตหีบ

ศาสตราจารย์ชาร์เลอร์ ชาวเยอรมัน ผู้เชี่ยวชาญสมุนไพรของบริษัทเบเยอร์ วิจัยสมุนไพรเพื่อผลิตเป็นยารักษาโรค และสร้างสวนสมุนไพรที่ ต.บ้านอ่าง อ.มะขาม จ.จันทบุรี และรวบรวมสรรพคุณยาของไทยที่ได้วิจัยแล้วเกือบสี่ร้อยชนิด พิมพ์เป็น 2 ภาษา

 

9) รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 (.. 2489 - 2559)

ในช่วงตอนต้นรัชกาล เพียง 7 ปีแรก มีการขยายโรงพยาบาลจนครบทุกจังหวัด 71 จังหวัด โรคคุดทะราดหมดไป ไข้มาลาเรียลดความรุนแรงลง ไม่มีผู้ป่วยโรคไข้ทรพิษ และกาฬโรค

 

 

348 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

.. 2494 พระองค์ทรงมีพระราชปรารภให้กรรมการวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เปิดสอนวิชาการแพทย์แผนไทย จึงเป็นที่มาของ โรงเรียนแพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทย ของสมาคมแพทย์แผนโบราณที่วัดพระเชตุพนฯ โดยมีเป้าหมายการศึกษาคือ นำความรู้ไปสอบรับใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ

.. 2495 แพทย์แผนโบราณกลุ่มหนึ่ง จัดตั้งสมาคมเภสัชกรรมไทยโบราณแห่งประเทศไทย ซึ่งมีความหมายเป็นผู้ปรุงยาเท่านั้น ต่อมาใน พ.. 2506 เปลี่ยนชื่อเป็น สมาคมเภสัชและอายุรเวชโบราณแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1) เพื่อส่งเสริมวิชาแพทย์แผนโบราณให้เหมาะแก่กาลสมัย

2) เพื่อจัดให้มีการอบรมวิชาแพทย์ไทยแผนโบราณ ทั้งสาขาเภสัชกรรม และเวชกรรมตลอดจนจรรยาแพทย์ให้แก่สมาชิกของสมาคม และสอบขอรับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะแผนโบราณจากกระทรวงสาธารณสุข

3) เพื่อแลกเปลี่ยนวิชาความรู้ในวิชาเกี่ยวกับการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ

.. 2520 องค์การอนามัยโลกจัดประชุมเพื่อกำหนดนโยบายและวางแผนในการส่งเสริมและพัฒนาการแพทย์พื้นบ้าน มูลนิธิเอเชีย จัดสัมมนาวิชาการเกี่ยวกับแพทย์แผนปัจจุบันและแผนโบราณ มีหน่วยงาน องค์กรหลายแห่งจัดอบรมการใช้สมุนไพร และหมอพื้นบ้าน เพิ่มขึ้น

.. 2522 เริ่มนโยบายสาธารณสุขมูลฐาน โดยเพิ่มโครงการสาธารณสุขมูลฐานเข้าไปในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (.. 2520 - 2524) ให้มีการควบคุมนโยบายในรูปแบบคณะกรรมการ คือ คณะกรรมการพัฒนาการใช้สมุนไพรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดสัมมนาเรื่องการแพทย์แผนโบราณ และศึกษาแนวทางการพัฒนาสมุนไพรเพื่อกำหนดนโยบายการพัฒนาสมุนไพร 4 แนวทางคือ การพัฒนาสมุนไพรเพื่อใช้ในด้านการสาธารณสุขมูลฐาน อุตสาหกรรมยาแผนโบราณและแผนปัจจุบัน เป็นยุทธปัจจัย และเพื่อการส่งออก

.. 2523 ศาสตราจารย์ นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ประกาศโครงการฟื้นฟูการแพทย์ไทยเดิม เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.. 2523 และจัดตั้งมูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิม เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.. 2523 โดยมีวัตถุประสงค์ 1) ฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับวิชาแพทย์ไทยเดิม 2) ส่งเสริมการวิจัยและการใช้สมุนไพร เพื่อสุขภาพของประชาชน 3) ส่งเสริมและปรับปรุงการ ศึกษา และการปฏิบัติวิชาแพทย์ไทยเดิมให้มีมาตรฐานสูงขึ้น และจัดตั้งอายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์)” บริเวณหน้าวัดบวรนิเวศโดยการสนับสนุนของกระทรวงสาธารณสุข

มูลนิธิส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิม มีความเห็น 3 ประการว่า 1) จุดอ่อนที่สำคัญที่สุดของการแพทย์ไทยเดิมคือ ไม่มีรากฐานทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งทำให้วิชาไม่มีหลักและไม่มีทางจะพัฒนาได้ 2) ในการปฏิบัติรักษาคนไข้ จุดอ่อนของแพทย์ไทยเดิมอยู่ที่การวินิจฉัยโรค ซึ่งอาศัยอาการแจ้งของผู้ป่วยเป็นสำคัญ 3) ยาสมุนไพรที่แพทย์ไทยเดิมใช้อยู่ อาจจะมีสรรพคุณศักดิ์สิทธิ์ แต่เมื่อการวินิจฉัยโรคไม่ถูกต้อง ยาที่ดีก็ไม่มีประโยชน์ โดยมีกำหนดหลักสูตรที่ใช้เวลาเรียน 3 ปี เรียนวิชาศาสตร์การแพทย์ วิชาแพทย์แผนปัจจุบัน และวิชาแพทย์แผนไทย ต่อมาอายุรเวทวิทยาลัยต้องย้ายไปที่โรงเรียนสวนบัว ซอยราชครู มีการบริหารในรูปมูลนิธิ จึงไม่ได้รับการ

 

 

349 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

สนับสนุนจากภาครัฐอีก หลังนายแพทย์อวยถึงแก่กรรม เกิดปัญหาในการบริหาร จึงมีนโยบายร่วมกับสถาบันการศึกษาอื่น ๆ และปรับหลักสูตรแพทย์แผนไทยจากระดับ ปวส.เป็นระดับปริญญาตรี และเกิดกระแสตื่นตัวด้านการแพทย์แผนไทย มีหลายสถาบันทาบทามให้เข้ามาอยู่ในหลักสูตร แต่ทางมูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิม มีมติให้โอนโรงเรียนอายุรเวทฯ ไปเป็นสาขาวิชาแพทย์แผนไทยประยุกต์ในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลในปี พ.. 2545

.. 2525 ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 กระทรวงสาธารณสุขเริ่มทดลองส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพร โดยการสนับสนุนขององค์การยูนิเซฟใน 25 จังหวัด จังหวัดละ 1 อำเภอ รวม 1,000 หมู่บ้าน โดยมีสมุนไพรที่ผ่านการพิจารณาความเหมาะสม 66 ชนิด

.. 2530 มีการแก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะ เพื่อรองรับแพทย์อายุรเวท โดยแบ่งการประกอบโรงศิลปะแผนโบราณเป็น 2 ประเภท คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณทั่วไป และผู้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณประยุกต์ (แพทย์อายุรเวท) และกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการฟื้นฟูการแพทย์แผนไทย มีการจัดพิมพ์ข้อเสนอในการระดมความคิดเห็น เรื่องการแพทย์แผนไทย ภูมิปัญญาแห่งการพึ่งพาตนเอง

.. 2532 คณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งศูนย์ประสานงานการพัฒนาการแพทย์และเภสัชกรรมแผนไทยขึ้น

.. 2558 มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การถวายพระราชสมัญญาพระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทยแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า และกำหนดให้วันที่ 28 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแห่งชาติ

การแพทย์แผนไทยได้รับการยอมรับมากขึ้น และได้รับความนิยมจากประชาชนในการเลือกใช้สมุนไพรในการบรรเทารักษาโรคภัยไข้เจ็บ ปัจจุบันมีคลินิกการแพทย์แผนไทยเปิดให้บริการตรวจรักษา ส่วนใหญ่สืบทอดต่อมาจากบรรพบุรุษที่เคยเป็นแพทย์แผนไทยเป็นจำนวนมาก และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

หนังสือเล่มนี้จึงขอยกกรณีศึกษาหมอหลวงและหมอราษฎร์ที่ยังสืบทอดการแพทย์แผนไทย และเปิดดำเนินกิจการมาจนถึงปัจจุบัน 2 แห่ง คือ

1) กรณีตัวอย่าง แพทย์แผนไทยที่สืบทอดแพทย์หลวงในราชสำนัก ซึ่งปัจจุบันยังมีทายาทสืบตระกูลดำเนินกิจการแพทย์แผนไทย คือ คลินิกการแพทย์แผนไทยหม่อมราชวงศ์สอาด ทินกร มีโรงเรียน สถานที่ผลิตและจำหน่ายยาไทย และสถานพยาบาลแพทย์แผนไทย ในการตรวจวินิจฉัยรักษาจนถึงปัจจุบัน

2) กรณีตัวอย่าง แพทย์แผนไทยที่เป็นหมอเชลยศักดิ์ หรือหมอราษฎร์ คือ หมอหวาน

 

 

350 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

ปูมหลังราชสกุลแพทย์ทินกรกับการแพทย์แผนไทย

 

คมสัน ทินกร ณ อยุธยา

 

350_1_พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทินกร 

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทินกร  ต้นราชสกุลทินกร

 

350_2_ตราประจำราชสกุลทินกร

ตราประจำราชสกุลทินกร

 

 

1. ต้นสายราชสกุลแพทย์ทินกร

ราชสกุลทินกรเป็นราชสกุลแพทย์ในสังกัดกรมแพทย์หลวงในพระบรมมหาราชวัง และเป็นราชสกุลแพทย์ในลำดับสุดท้ายของประเทศไทยที่มีการสืบทอดองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยในแบบฉบับที่เป็นแบบแผน โดยต้นสายแห่งราชสกุลทินกรคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทินกร ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 35 และที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธ-เลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) กับเจ้าจอมมารดาศิลา (ราชินิกุล บางช้าง) ประสูติเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.. 2344

ในยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 (.. 2379) ได้มีการปั้นฤๅษีดัดตนขึ้นใหม่จำนวน 80 ท่า แทนของเดิมที่ชำรุดไป แล้วนำไปตั้งไว้ตามศาลารายภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) โดยมีการจารึกโคลงสี่สุภาพจำนวน 80 บท บรรยายท่วงท่าต่าง ๆ ซึ่งแต่งขึ้นโดยพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง พระภิกษุ และสามัญชน พระองค์เจ้าทินกรเป็นหนึ่งในบรรดาผู้แต่งดังกล่าว ทรงพระนิพนธ์บรรยายถึงท่วงท่าการดัดตนของฤๅษี ท่าที่ 42 เป็นโคลงสี่สุภาพเรียกว่าแก้คอเคล็ด ไหล่ขัดซึ่งเป็นท่าแบะขา และงอข้อศอกทั้งสองข้าง

351_จารึกโคลงภาพฤๅษีดัดตน

 

 

351 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

จารึกโคลงภาพฤๅษีดัดตน ท่าที่ 42 โคลงสี่สุภาพ พระนิพนธ์ในพระองค์เจ้าทินกร

นักพรตภักตร์เพศม้า        มีแผน พม่านาม

ชื่ออัศวมุชีแขน                คู่คู้

ท่าอัดตัดเหลี่ยมแบน       แบะเข่า

คอเคล็ดแคลงไหล่หลู้      โฉลกแก้ตลอดกัน

 

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์เจ้าชายทินกรขึ้นเป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตร-นรินทรฤทธิ์ ว่าการกรมพระนครบาล (กรมตำรวจ) จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 4 พระโอรสของพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ เป็นหมอทุกพระองค์ โดยรับราชการในกรมแพทย์ สำนักพระราชวัง

 

2. เริ่มยุคของวิชาแพทย์ในราชสกุล

ด้วยบรรดาพระโอรสพระธิดาในพระองค์เจ้าทินกรทุกพระองค์ทรงมีพระปิตุลาร่วมกันคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท (พระนามเดิม พระองค์เจ้าชายนวม) ต้นราชสกุลสนิทวงศ์ทรงเป็นแพทย์ใหญ่ผู้เชี่ยวชาญในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงได้เล่าเรียนวิชาแพทย์จากกรมหลวงวงษาธิราชสนิท จนได้รับราชการเป็นแพทย์ในกรมหมอหลวง พระบรมมหาราชวังสืบมา

 

 

352 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

352_ท่านพระอาจารย์หม่อมเจ้าเจียก ทินกร

ท่านพระอาจารย์หม่อมเจ้าเจียก ทินกร

 

ในลำดับสาแหรกที่ 2 นี้เอง ถือเป็นต้นกำเนิดของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแห่งราชสกุลแพทย์สยามทินกรด้วยหลายพระองค์ทรงเป็นแพทย์ เป็นอาจารย์แพทย์มายาวนานแต่ช่วงต้นกรุง จนมาถึงรัชสมัยแห่งพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้ารัชกาลที่ 5 ก็ทรงมีพระชนมายุมากแล้ว เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างโรงพยาบาลศิริราช และโรงเรียนสอนวิชาแพทย์ ทั้งโรงเรียนแพทยากรมาจนถึงโรงเรียนราชแพทยาลัย บรรดาหม่อมเจ้าในราชสกุลทินกรจึงเป็นทั้งแพทย์ฝ่ายหมอไทยในโรงพยาบาล เป็นทั้งพระอาจารย์สอนวิชาการแพทย์ของไทยในโรงเรียนแพทย์ทั้งสามหม่อมเจ้า คือ หม่อมเจ้าเจียก หม่อมเจ้าปาน และหม่อมเจ้าภูลสวัสดิ์ โดยเฉพาะหม่อมเจ้าเจียก ทรงดำรงตำแหน่งเจ้ากรมแพทย์สำนักพระราชวัง และเป็นหัวหน้าอาจารย์แพทย์ในโรงเรียนด้วย จนกระทั่งถึงปี พ.. 2458 จึงยุติการสอนวิชาแพทย์แผนโบราณในโรงเรียนราชแพทยาลัยแห่งศิริราชพยาบาลนับแต่นั้นมา

แต่ที่วังทินกรเองนอกจากเป็นวังที่ประทับของท่านหมอในราชสกุลแล้ว ยังเปิดรับรักษาโรคและจำหน่ายยาชื่อพิพิธเภสัชบริษัทบรรดาลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์คงได้เล่าเรียนวิชาหมอกันที่นี่สืบต่อจากศิริราชมาจนกระทั่งถึงปี พ.. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทางคณะราษฎร์ได้ให้เจ้านายทั้งหมดย้ายออกจากวังที่ประทับ เพื่อใช้เป็นที่ทำการของทางราชการ วังทินกรก็เช่นเดียวกัน ลูกหลานทั้งหมดต้องย้ายออกจากวังที่อยู่บริเวณสวนเจ้าเชตุ ไปอยู่ข้างนอกนับแต่นั้นจนบัดนี้

 

3. สืบต่อวิชาแพทย์จากพระบิดา

บรรดาบุตรของสายราชสกุลชั้นหม่อมเจ้ายังคงสืบต่อวิชาแพทย์จากพระบิดา อาทิเช่น หมอสอาด (หม่อมราชวงศ์สอาด ทินกร) ท่านหมอเปิดร้านขายยาหม่อมราชวงศ์สอาด ทินกรทั้งที่เสาชิงช้าและตลาดธนบุรี อีกทั้งยังรับราชการสนองพระเดชพระคุณที่โรงพยาบาลทหารเรือ ดั่งประวัติเนื่องในงานปลงศพสนองคุณหม่อมราชวงศ์สอาด ทินกร ทรงพระนิพนธ์คำนำโดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

 

4. หมออุไทย ผู้สืบวิชาแลกิจการร้านขายยาจากบิดา

ขุนมนัศมานิต (หม่อมหลวงอุไทย ทินกร) ผู้บุตรของหม่อมราชวงศ์สอาด ทินกรได้สืบวิชาหมอแลกิจการร้านขายยาสืบเนื่องจากบิดา โดยย้ายร้านไปอยู่แถวปากคลองตลาดเปิดรับรักษาปรึกษาและจำหน่ายยาในราชสกุลทินกรสืบมา แลยังเข้ารับราชการในกระทรวงพระคลังด้วย

 

 

353 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

353_1_ท่านพระอาจารย์หม่อมเจ้าภูลสวัสดิ์ ทินกร

ท่านพระอาจารย์หม่อมเจ้าภูลสวัสดิ์ ทินกร

 

 

353_2_ตำรับ “ยาเขียวรงับ” นี้

ตำรับยาเขียวรงับนี้ ท่านหมอหม่อมเจ้าภูลสวัสดิ์ ทินกร ทูลเกล้าฯ ถวาย

พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5

ใช้ระงับความร้อนภายในร่างกายทั้งจากรูปและนามพร้อมสรรพ

 

 

353_3_พระตำหนักใหญ่วังทินกร สวนเจ้าเชตุ

พระตำหนักใหญ่วังทินกร สวนเจ้าเชตุ

 

 

354 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

354_1_ล่วมยาพระราชทาน

ล่วมยาพระราชทาน ที่หม่อมเจ้าภูลสวัสดิ์ ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 5

ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของ ทายาทสายหม่อมเจ้าภูลสวัสดิ์ ทินกร

ที่มา : คุณศรายุทธ ทินกร ณ อยุธยา

 

354_2

 

 

355 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

355_1

 

 

355_2

 

5. หมออรทัย ผู้สืบวิชาแพทย์ลำดับที่ 5

ผู้บุตรของหม่อมหลวงอุไทย ทินกร และคุณชรินทร์ ทินกร ณ อยุธยา (บุนนาค) สำเร็จวิชาพยาบาล และรับราชการที่กรมแพทย์ทหารเรือดั่งท่านปู่หม่อมราชวงศ์สอาด ทินกร รับช่วงวิชาแพทย์ไทยของราชสกุลและกิจการร้านขายยาหม่อมราชวงศ์สอาด ทินกร โดยได้ย้ายร้านหนีภัยสงครามโลกครั้งที่สองมาอยู่ถนนประชาธิปัตย์ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นถนนพหลโยธิน) จนปัจจุบันนี้

6. แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา ลำดับชั้นที่ 6 แห่งราชสกุลแพทย์ทินกร

นายคมสัน ทินกร ณ อยุธยา เกิดที่โรงพยาบาลพระปิ่นเกล้า ฝั่งธนบุรี เป็นบุตรคนที่หนึ่ง ในพี่น้องทั้งสิ้น 3 คน ของนายมรุต ทินกร ณ อยุธยา และนางนลิน ทินกร ณ อยุธยา (สกุลเดิม วรรณนวล) นับเป็น

 

 

356 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

ลำดับชั้นที่ 6 ในสายราชสกุลทินกรซึ่งเป็นราชสกุลแพทย์แผนไทยมาตั้งแต่ลำดับชั้นที่ 1 - 7 ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์อย่างต่อเนื่องมิขาดสาย จวบจนปัจจุบัน

ในลำดับสายสาแหรกแห่งราชสกุลทินกรเป็นดังต่อไปนี้

ลำดับชั้นที่ 1 กรมหลวงภูวเนตรนรินทร์ฤทธิ์ พระองค์เจ้าทินกร ลำดับที่ 35 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และลำดับที่ 4 ในเจ้าจอมมารดาศิลา (ราชนิกุล ณ บางช้าง)

ลำดับชั้นที่ 2 หม่อมเจ้าภูลสวัสดิ์ ทินกร แพทย์หลวงสำนักกรมหมอหลวงในพระบรม-มหาราชวังและเป็นอาจารย์แพทย์ในโรงเรียนราชแพทยาลัย โรงพยาบาลศิริราช

ลำดับชั้นที่ 3 หม่อมราชวงศ์สอาด ทินกร รับราชการกรมแพทย์ทหารเรือ และเป็นแพทย์แผนไทยเป็นผู้ก่อตั้งร้านขายยาหม่อมราชวงศ์สอาด ทินกร

ลำดับชั้นที่ 4 หม่อมหลวงอุไทย ทินกร รับราชการกระทรวงพระคลัง และรับช่วงกิจการร้านขายยาจากหม่อมราชวงศ์สอาด ทินกร ผู้บิดา

ลำดับชั้นที่ 5 นายมรุต ทินกร ณ อยุธยา รับราชการกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นผู้ช่วยปรุงยาทำยาในสายราชสกุล ร่วมกับเรือโทหญิง ปทัยทิพย์ ทินกร ณ อยุธยา (พี่สาว) ซึ่งรับช่วงกิจการจากบิดาสืบมา

ลำดับชั้นที่ 6 นายคมสัน ทินกร ณ อยุธยา แพทย์แผนไทย และรับช่วงกิจการสืบต่อมาจนปัจจุบัน

ลำดับชั้นที่ 7 นายสัตถา ทินกร ณ อยุธยา รองกรรมการผู้จัดการบริษัทภูลประสิทธิ์ จำกัด และเป็นอาจารย์พิเศษสอนการแพทย์แผนไทย ที่คณะแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต

ในด้านการศึกษาสายสามัญ เคยศึกษาเล่าเรียนจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ในชั้นมัธยม และคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหงในชั้นปริญญาตรี และได้รับปริญญาวิทยาศาสตร-มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ด้านการแพทย์แผนไทยเคยศึกษาจากสายสำนักเรียนวัดสามพระยา ศิษย์ของท่านอาจารย์เฉลิม พงษ์สนิท และสอบได้ใบประกอบโรคศิลปะทั้งสาขาเภสัชกรรมไทย สาขาเวชกรรมไทย พร้อมทั้งยังได้เล่าเรียนศาสตร์การแพทย์ไทยสายตรงซึ่งเป็นองค์ความรู้เฉพาะของสายราชสกุลทินกรจากเรือโทหญิง ปทัยทิพย์ ทินกร ณ อยุธยา (คุณป้า) รวมถึงจากบิดา ในวิชาองค์ความรู้แพทย์แผนไทยดังต่อไปนี้

1. ศาสตร์แห่งคัมภีร์การแพทย์แผนไทย ที่บรรพบุรุษได้เก็บรักษาไว้ในแต่ละลำดับสาย

2. ศาสตร์แห่งการปรุงยาแผนไทย ที่บรรพบุรุษเคยปรุงไว้ในแต่ละลำดับสายและเป็นตำรับยาเฉพาะของราชสกุลที่แพทย์แต่ละลำดับปรุงใช้รักษาผู้ป่วยมาต่อเนื่องกันอย่างยาวนาน

3. ศาสตร์ว่าด้วยการวินิจฉัยโรค วิธีการรักษาโรคในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การหัตถศาสตร์ และการยักน้ำกระสายยา การเผายา การพอกยา เป็นต้น

4. ศาสตร์ว่าด้วยการใช้อาหารเป็นเครื่องป้องกันโรค เครื่องรักษาโรค และเพื่อไม่ให้แสลงกับโรคที่เป็น

 

 

357 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

357_แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา

แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา

เรือโทหญิง ปทัยทิพย์ ทินกร ณ อยุธยา

 

5. ศาสตร์ว่าด้วยความงามในแบบฉบับของชาววัง เช่น การพอก การอบ การสระ การนวด การดูแลให้สวยงามจากภายในแล้วสำแดงออกทางผิวหน้า ผิวกาย

นอกจากนั้นแล้ว การศึกษาทางพระพุทธศาสนายังได้รับจากคุณป้าเรือโทหญิง ปทัยทิพย์ตั้งแต่วัยเด็กและได้ บวชในสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร ครบถ้วนในพรรษากาล โดยมีสมเด็จ-พระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นพระอุปัชฌาจารย์ ซึ่งสำคัญยิ่งเพราะได้เรียนรู้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค (เฉพาะส่วนอันว่าด้วยกายแห่งมนุษย์) อันเป็นหลักเป็นประธานหนึ่ง สถิตในศาสตร์ในคัมภีร์ทางการแพทย์แผนไทยแต่โบราณกาลนานมา

ต่อมาประมาณในปี พ.. 2535 ได้รับช่วงกิจการของราชสกุลต่อจากเรือโทหญิง ปทัยทิพย์ ทินกร ณ อยุธยา ดำเนินกิจการผลิตยาแผนไทยในตำรับยาแห่งราชสกุล ทินกรในนามบริษัทภูลประสิทธิ์ จำกัดโดยดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ ดำเนินกิจการไปพร้อมกับลำดับชั้นที่ 7 เพื่อสืบกิจการและองค์ความรู้ด้านการแพทย์ต่อไป มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา พร้อมปรับรูปแบบยาและการรักษาให้เข้ากับยุคสมัย ปัจจุบันบริษัทได้รับรองมาตรฐานการผลิต FMP จากคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข เป็นแพทย์แผนไทยประจำคลินิกการแพทย์แผนไทย หม่อมราชวงศ์สอาด ทินกร ทั้งสองสาขา ใกล้บีทีเอสอารีย์และลาดพร้าว ซอย 74 (ซึ่งรับเป็นสถานที่ฝึกงานให้กับนักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ) เพื่อจะฝึกฝนการเวชกรรมปฏิบัติวินิจฉัยจากคนไข้จริง อันเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในวิชาแพทย์แผนไทยประการหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นอาจารย์แพทย์แผนไทยให้การอบรมกับบรรดาแพทย์แผนไทยที่ประจำการอยู่ตามโรงพยาบาลทั่วประเทศ เป็นวิทยากรให้กับโครงการอบรมต่าง ๆ ของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

เคยเป็นอดีตกรรมการสภาการแพทย์แผนไทย และที่ปรึกษากรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ยังเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาการวินิจฉัยโรค ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ถูกส่งผ่านมาจากบรรพบุรุษให้กับบรรดานักศึกษาที่เล่าเรียนวิชาการแพทย์แผนไทยในหลายสถาบัน

 

 

358 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แพทย์ของราชสกุล ฝึกฝนการวินิจฉัยโรค เวชกรรมปฏิบัติ กอปรไปด้วยสถาบันต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

- วิทยาลัยสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

- วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยประยุกต์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

- วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยประยุกต์ อภัยภูเบศร มหาวิทยาลัยบูรพา

- วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต

- สาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยาศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

นอกจากนั้น ยังเคยจัดรายการโทรทัศน์ และวิทยุ ให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องการแพทย์แผนไทยเพื่อดูแลสุขภาพด้วยตนเองแบบไทยแต่ดั้งเดิม อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่และผดุงรักษาไว้ซึ่งสมบัติของชาติมิให้สูญหายไป

อนึ่งได้รับเชิญไปบรรยายการแพทย์แผนไทยในสถาบันโรงเรียนการแพทย์แผนไทยหลากหลายแห่ง เช่น เป็นอาจารย์บรรยายพิเศษให้กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และโรงเรียนการแพทย์แผนไทยของสำนักเรียนวัดสามพระยาและวัดโพธิ์ รวมถึงสมาคมการแพทย์แผนไทยในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน เป็นต้น หรือรับเชิญไปบรรยายให้ความรู้การแพทย์แผนไทยกับแพทย์แผนไทยที่เป็นแพทย์ประจำ รพ.สต. ในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเพชรบูรณ์ นอกจากนั้นยังนำศิษย์แพทย์ออกบริการกับประชาชนโดยทั่วไป เป็นการบำเพ็ญประโยชน์ต่อส่วนรวม และศิษย์ยังได้เรียนรู้ประสบการณ์ในการรักษาอีกด้วย

 

ความตั้งใจอันแรงกล้าประการหนึ่งคือ แพทย์ไทย หมอไทย ยาไทย องค์ความรู้แห่งบรรพชนไทย ต้องได้รับการสืบต่อมิให้สูญสิ้นไป เพราะศาสตร์โบราณนี้อยู่เคียงข้างดูแลประชาชนมาตลอดเกือบพันปี ความรู้มากมายแห่งราชสกุลทินกรต้องมอบคืนให้แก่แผ่นดิน ผ่านการสอนสั่งศิษย์ให้สำเร็จเป็นหมอไทยที่มีคุณภาพและจริยาแพทย์ครบตามธรรมเนียมไทย เป็นอาชีพเลี้ยงตน เป็นหมอของประชาชนและเป็นทรัพย์อันมีค่ายิ่งของแผ่นดินสืบต่อไป

 

 

359 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

ประวัติหมอหวาน รอดม่วง

บำรุงชาติสาสนายาไทย เจตนารมณ์ซึ่งจะดำรงอยู่ต่อไป

 

ภาสินี ญาโณทัย

 

หมอหวาน รอดม่วง

จากคำบอกเล่าของคุณป้าออระ วรโภค หลานสาวคนโตของหมอหวาน ผู้มีศักดิ์เป็นคุณป้าของข้าพเจ้า ซึ่งเกิดและโตทันที่จะได้พบหมอหวาน ทำให้ทราบว่า คุณทวดหวาน เกิดในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 และมีชีวิตอยู่จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 8 (.. 2413 - 2488) ท่านเป็นคนขรึม พูดน้อย ทำให้ดูเหมือนว่าจะดุ แต่ความจริงแล้วมีเมตตากับลูกหลานมาก

หมอหวานเป็นหมอราษฎร หรือหมอเชลยศักดิ์ ที่แม้จะมิได้สังกัดกรมหมอหลวง แต่ก็ฝึกฝนจนเชี่ยวชาญ ให้การรักษาคนทั่วไปได้ โดยใช้วิชาการปรุงยาเช่นเดียวกับหมอหลวง เมื่อพิจารณาจากข้าวของเครื่องใช้ในอาคาร ทำให้พบว่านอกจากจะรักษาคนไข้จำนวนมากแล้ว หมอหวานยังได้ปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย โดยนำเอาวิทยาการสมัยใหม่เข้ามาผสมผสาน และใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการแพทย์แผนไทยอีกด้วย

 

359_1

 

 

360 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

360

 

 

 

361 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

คุณป้าออระเล่าว่า เคยได้รับการบอกเล่าต่อมาจากคุณยายเฉื่อย วรโภค ลูกสาวคนโตของหมอหวาน ผู้เป็นแม่ของคุณป้าออระ และเป็นคุณยายของข้าพเจ้า ทำให้ทราบว่า หมอหวาน เคยมีโอกาสได้ถวายการรักษาเจ้านายหลายพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ อัครมหาเสนาบดีในรัชกาลที่ 6 โดยมีพยานวัตถุที่สนับสนุนในเรื่องนี้ คือ กล่องไม้ของขวัญทีได้รับประทานจาก ม..พิจิตรจิราภา เทวกุล พระธิดาในพระองค์ ในโอกาสที่ถวายการรักษาคราวประชวรครั้งสุดท้าย

 

361_1

 

 

362 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 362_1

นอกจากนี้ยังได้รับการบอกเล่าจากอาเจ็ก นายสุวิทย์ สาธิตพรกุล เพื่อนบ้านเก่าแก่อายุ 96 ปี ที่สมัยหนุ่มเคยทำงานเป็นคนบดยาอยู่ที่ร้านขายเครื่องยาสมุนไพรใกล้ประตูผี หรือสำราญราษฎร์ ซึ่งเป็นร้านที่หมอหวานไปซื้อเครื่องยาเป็นประจำ จึงเคยได้เห็นและได้ยินการสนทนาระหว่างหมอหวานกับเถ้าแก่ ทำให้ทราบว่า หมอหวานเคยมีโอกาสเข้าไปถวายการรักษาให้กับเจ้านายในวังสระปทุมอีกด้วย ซึ่งเรื่องนี้สอดคล้องกับข้อความบางส่วนที่ปรากฏอยู่ในพระราชหัตถเลขาของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระ-บรมราชชนก พระราชบิดาของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่เขียนถึง ม..พูนศรีเกษม เกษมศรี ในพระราช-หัตถเลขาดังกล่าวได้มีการกล่าวถึงบุคคลสำคัญท่านหนึ่งซึ่งพูดถึงหมอหวาน โดยเปรียบเทียบหมอหวานกับ ดร.วิลเลี่ยม ออสเลอร์ ครูแพทย์ชาวแคนาดาผู้เป็นแบบอย่างให้แก่นักศึกษาและแวดวงการแพทย์ในยุคนั้น

.. 2466 รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราช-บัญญัติการแพทย์ฉบับแรกของสยามประเทศขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมการประกอบโรคศิลปะเพื่อความปลอดภัยของราษฎรผู้มีอาชีพแพทย์ต้องได้รับใบอนุญาตและขึ้นทะเบียนกับทางการ ส่งผลให้เกิดการปรับตัวของหมอไทยจำนวนมาก

หนึ่งปีภายหลังจากที่พระราชบัญญัติการแพทย์ประกาศใช้ หมอหวานได้สร้างอาคารแบบฝรั่งสไตล์โคโลเนียล ชิโน - โปรตุกีส ขึ้นบนถนนบำรุงเมือง ใกล้สี่แยกเสาชิงช้า เพื่อเป็นสถานที่ปรุงยา จำหน่ายยา และรักษาคนไข้ โดยย้ายจากร้านขายยาไทยตราเฉลว มาลงหลักปักฐาน ณ ที่แห่งนี้ และตั้งชื่ออาคารเพื่อประกาศเจตนารมณ์ที่จะดำรงไว้ซึ่งยาไทยให้อยู่คู่สังคมไทยสืบไปว่าบำรุงชาติสาสนายาไทย

 

บำรุงชาติสาสนายาไทย

 

หมอหวานได้สร้างอาคารบำรุงชาติสาสนายาไทยขึ้นใน พ.. 2467 เป็นอาคารสองชั้นกึ่งปูนกึ่งไม้ ชั้นล่างเป็นร้านขายยาและสถานที่รักษาคนไข้ของหมอหวาน ชั้นบนเป็นห้องเก็บเครื่องยา มีระเบียงขนาดใหญ่ และด้านบนของห้องเก็บเครื่องยามีดาดฟ้า ทั้งสองส่วนนี้ใช้เป็นที่ตากเครื่องยาสมุนไพร ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญอย่างหนึ่งในการปรุงยา

 

363_1

 

 

363 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

ร้านขายยาของหมอหวานมีรูปลักษณ์ใกล้เคียงกับร้านขายยาในประเทศตะวันตก กล่าวคือ มีหน้าต่างจัดแสดงขวดยาจำนวนมาก ที่มุขด้านหน้าของอาคารแขวนตราหมอหวาน ซึ่งมีที่มาจากตราสัญลักษณ์ที่หมอหวานใช้ประทับในเอกสารกำกับยา เพื่อเป็นหลักฐานว่าเป็นยาของหมอหวานของแท้ ตราของหมอหวานประกอบด้วยคำว่า หมอหวาน และเฉลว ซึ่งมีลักษณะคล้ายรูปดาว ซึ่งได้รับการนำไปใช้เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานและวิชาชีพเภสัชกรรม รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ของการแพทย์แผนโบราณ

ภายในร้านขายยาได้รับการตกแต่งอย่างประณีต สวยงาม มีเคาน์์เตอร์ขายยาอยู่กลางห้องพร้อมตู้จัดแสดงขวดยาบรรจุยาที่ใช้จำหน่าย โดยยาของหมอหวานทั้งหมดเป็นยาสำเร็จรูปพร้อมรับประทานเช่นเดียวกับยาฝรั่ง มีทั้งยาเม็ด ยาผง และยาน้ำ บรรจุในขวดยาซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศ ร้านขายยาของหมอหวานจึงไม่มีลิ้นชักบรรจุเครื่องยาเหมือนร้านขายยาที่พบเห็นทั่วไปปัจจุบัน อาคารบำรุงชาติสาสนายาไทยยังคงทำหน้าที่เป็นร้านขายยาของหมอหวาน และตำรับยาของหมอหวานก็ยังคงได้รับการสืบทอดโดยทายาทรุ่นที่ 4 และได้รับพระราชทานรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลป์สถาปัตยกรรมดีเด่น สาขาอาคารพาณิชย์ ประจำปี 2457 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์

 

 

364 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

364

 

 

 

365 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

 

365

 

เส้นทางการสืบทอดของทายาท

ยุคที่ 1 รุ่นก่อตั้ง : หมอหวาน รอดม่วง (.. 2467 - 2488)

หมอหวานได้สร้างอาคารบำรุงชาติสาสนายาไทยขึ้น เพื่อเป็นร้านขายยา เป็นสถานที่ปรุงยา และเป็นคลินิก กิจการในยุคที่หมอหวานยังมีชีวิตอยู่จึงเป็นไปในลักษณะของหมอปรุงยาเพื่อรักษาความป่วยเจ็บให้กับคนไข้ และปรุงไว้เพื่อจำหน่ายให้กับคนทั่วไป โดยได้นำเอาอุปกรณ์อย่างหมอฝรั่งมาใช้ประกอบการตรวจรักษา เช่น หูฟัง ปรอทวัดไข้ และยังได้มีการปรับรูปแบบของยาไทยจากเดิมซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นยาผง ยาต้ม ยาหม้อ ให้อยู่ในรูปแบบของยาเม็ดหรือยาน้ำ เพื่อให้มีความทันสมัยและง่ายต่อการรับ-ประทาน ยาที่หมอหวานปรุงมีนับร้อยตำรับ ทั้งยาถ่าย ยาเด็ก ยาสตรี ยากวาดคอ ยาแก้ไข้ ยาหอม ฯลฯ โดยตำรับที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ ยาหอม

 

 

366 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

ยุคที่ 2 รุ่นลูก : เฉื่อย วรโภค (.. 2488 - 2526)

ภายหลังจากหมอหวานได้สิ้นชีวิตลง คุณยายเฉื่อย วรโภค เภสัชกรแผนไทย บุตรสาวคนโตผู้เป็นกำลังสำคัญของครอบครัวรับช่วงในการดำเนินกิจการต่อมา แม้จะมีการลดทอนความเป็นคลินิกออกไป เหลือเพียงร้านขายยาและสถานที่ปรุงยาเท่านั้น แต่ก็ยังมีตำรับยาที่ปรุงจำหน่ายอยู่หลายสิบตำรับ อาทิ ยากวาดแสงหมึก ยากล่อมนางนอน ยาเทวประสิทธิ์ รวมถึงยาหอมตำรับต่าง ๆ โดยกิจการปรุงยายังคงนำมาซึ่งรายได้หลักในการหล่อเลี้ยงครอบครัว ในยุคนี้คุณป้าออระได้นำเงินเก็บที่เป็นรายได้จากการทำงานประจำมามอบให้คุณยายเฉื่อย เพื่อซื้อเครื่องบดยาไฟฟ้า และนำมาใช้ทดแทนเครื่องบดยารุ่นเก่าอีกด้วย

ยุคที่ 3 รุ่นหลาน : ออระ วรโภค (.. 2526 - 2551)

ในยุคที่ 3 หลังจากที่คุณยายเฉื่อยได้สิ้นชีวิตลง คุณป้าออระ วรโภค ผู้เป็นบุตรสาวก็ได้เข้ารับหน้าที่สืบต่อกิจการ ซึ่งแม้ขณะนั้นทำงานประจำอยู่คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล (ในปัจจุบันคือ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล) แต่ก็ได้ใช้เวลาหลังจากเลิกงานในการปรุงยา หากแต่ความนิยมยาไทยในตอนนั้นลดลงอย่างต่อเนื่อง ตำรับยาที่ปรุงขายจึงได้ลดจำนวนลง จนในที่สุดเหลือเพียงยาหอมสี่ตำรับ ได้แก่ ยาหอมสุรามฤทธิ์ ยาหอมอินทรโอสถ ยาหอมประจักร์ และยาหอมสว่างภพ อย่างไรก็ตาม กิจการปรุงยาของหมอหวานก็ยังดำเนินอยู่ต่อไป เพื่อดูแลลูกค้าเก่าแก่เฉพาะกลุ่ม ซึ่งเหลืออยู่เพียงจำนวนไม่ถึง 20 ราย

ยุคที่ 4 รุ่นเหลน : ภาสินี ญาโณทัย (.. 2551 - ปัจจุบัน)

นับแต่วัยเด็กที่ข้าพเจ้าได้เติบโตขึ้นมาทันเห็นภาพการปรุงยาของคุณยาย คุณป้า รวมถึงสมาชิกในครอบครัว ข้าพเจ้าจึงได้ซึมซับบางสิ่งบางอย่างไว้โดยมิรู้ตัว เมื่อจบการศึกษาและเข้าสู่ชีวิตวัยทำงาน ได้มีโอกาสพบเห็นกิจการหลายแห่งที่จำต้องยุติลงเพราะไม่มีผู้สืบทอดกิจการ ทำให้เกิดความรู้สึกเสียดาย และเริ่มหันกลับมามองเห็นคุณค่าของกิจการปรุงยาอันเป็นมรดกตกทอดของครอบครัว ควบคู่ไปกับการทำงานประจำ ข้าพเจ้าจึงหาโอกาสไปศึกษาเพิ่มเติมในวิชาแพทย์แผนไทยจากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) เพื่อปูพื้นความรู้ทางทฤษฎี รวมทั้งฝึกหัดภาคปฏิบัติด้านการปรุงยากับคุณป้าออระ จนได้รับใบประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรมไทย ต่อมา ในยุคแห่งความยากลำบากสำหรับการดำรงอยู่ของยาไทย ด้วยความรู้สึกรับผิดชอบต่อมรดกที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ ข้าพเจ้าในฐานะเหลนตาของหมอหวาน ได้ตัดสินใจลาออกจากงานประจำเพื่อกลับมาต่อลมหายใจให้กับกิจการอย่างเต็มตัว เริ่มจากการรื้อฟื้นเรื่องราวของหมอหวานขึ้นมาและสร้างให้เกิดเป็นแบรนด์หมอหวาน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและเผยแพร่ไปยังผู้คนในสังคมยุคปัจจุบันให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและมีทัศนคติที่ดีต่อยาไทย พร้อมกับได้นำยาหอมทั้ง 4 ตำรับซึ่งยังคงปรุงขายอยู่โดยยึดตามตำรับและกระบวนการปรุงดั้งเดิม มานำเสนอใหม่ในฐานะผลผลิตทางวัฒนธรรม โดยได้ปรับปรุงบรรจุภัณฑ์เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์คุณค่าของยาไทยให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ตลอดจนได้นำยาหอมอินทจักร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในตำรับยาที่ถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติมาพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบของลูกอมชื่นจิตต์นวัตกรรมยาหอมที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีมาช่วยทำให้รูปแบบและรสชาติของการรับประทาน

 

 

367 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

367_2_กล่องลูกอมชื่นจิตต์

ยาหอมสี่ตำรับ

 

 

367_1_ยาหอมสี่ตำรับ

กล่องลูกอมชื่นจิตต์

 

ยาหอมเป็นเรื่องที่สะดวกมากขึ้น อันจะทำให้การใช้ยาหอมในสังคมไทยขยายวงกว้างขึ้นต่อไป นอกจากนี้ยังได้มีการปรับปรุงอาคารบำรุงชาติสาสนายาไทย หรือบ้านหมอหวาน เพื่อนำเสนอในฐานะของการเป็นพิพิธภัณฑ์ร้านขายยา เพื่อบอกเล่าถึงเจตนารมณ์ของหมอหวานที่ต้องการทำให้ยาไทยยังดำรงอยู่คู่สังคมไทยสืบไป

 

เพราะมรดกทางภูมิปัญญา คือ สิ่งที่คนในอดีตสร้างไว้ หน้าที่ของคนในปัจจุบันก็คือ ดูแล เพื่อจะส่งต่อให้คนในรุ่นอนาคตรักษาต่อไป

 

 

เชิงอรรถ

1 แพทย์ในกรุงสยามสนองโอษฐ์สภากาชาด เล่ม 1 พ.. 2465 - 2466, หน้า 264 - 271.

2 วิธีนี้มีตัวอย่างอันตรายที่เกิดขึ้น และเข้าสู่ที่ประชุมของแพทย์สมาคม คือหมอตำแยใช้คีมดึงเด็กทารกออกมา แต่ทำให้ศีรษะเด็กขาด จึงต้องพิสูจน์ว่า เด็กไม่มีชีวิตแล้วก่อนที่จะดึงออกมา หรือการดึงออกมาทำให้เด็กเสียชีวิต

3 พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์, “แพทย์หมอใน ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ภาค 4 เรื่องวิชาแพทย์ไทย, (พิมพ์แจกในงานฌาปนกิจศพ นางแป้น ใยมณี ณ เมรุวัดจันทาราม ธนบุรี 18 มีนาคม 2486)

4 พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิญาณ, “เวชชปุจฉาใน ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ ภาค 4 เรื่องวิชาแพทย์ไทย, อ้างแล้ว, หน้า 32 - 33.

 

 

368 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย

 

 

5 ราชอาณาจักรเขมรโบราณในยุคของชัยวรมัน มีอาณาเขตแผ่ขยายมาถึงตอนกลางของประเทศไทย

6 ราตรี วานิชลักษณ์, “ประวัติศาสตร์การแพทย์แผนโบราณในประเทศไทย”, วารสารสังคมศาสตร์การแพทย์ (ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 มกราคม - มีนาคม 2521), หน้า 21.

7 ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา, นิทานโบราณคดี

8 พลับพลึง มูลศิลป์, ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสสมัยอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ถึงรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, 2523) หน้า 160.

9 หมายถึงสมเด็จพระเพทราชา

10 ตำราพระโอสถพระนารายณ์, สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี โปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานในงานศพพระยาแพทยพงษา (นาก โรจนแพทย์) ปีมเสง พ.. 2460 พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางไขศรี ทองธิว ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพฯ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.. 2533 หน้า 80

11 ข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณวิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์

12 ราชบุรรีดิเรกฤทธิ์, สมเด็จฯ กรมหลวง, กฎหมาย เล่ม 1 หน้า 68.

13 ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ในงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระอริยวงศาคตญาต สมเด็จพระสังฆราช 2517), หน้า 38.

14 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้านวม เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 49 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเข้ารับราชการกำกับกรมหมอในรัชกาลที่ 3 และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกรมหมื่นวงษาสนิท ทรงศึกษาวิชาการแพทย์สมัยใหม่จากมิชชันนารีอเมริกัน ในรัชกาลที่ 4 ทรงกำกับราชการมหาดไทย ว่าพระคลังสินค้า และเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกรมหลวงวงษาธิราชสนิท สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.. 2414 รวมพระชันษาได้ 63 ปี ทรงเป็นต้นราชสกุลสนิทวงศ์ ในปี พ.. 2551 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท ทรงมีพระชนมายุครบ 200 ปี องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องให้พระองค์ท่านเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านปราชญ์และกวี (Scholar & Poet) เป็นบุคคลลำดับที่ 18 ของประเทศไทยที่ได้รับการประกาศยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก

15 พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (งานฉลองครบรอบ 84 ปีมหามกุฏราชวิทยาลัย 2521), หน้า 268

16 เรื่องเดียวกัน, หน้า 363

17 เรื่องเดียวกัน, หน้า 80

18 กระทรวงศึกษาธิการ, หมอไทย ยาไทย (กรุงเทพฯ : สนง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 2521) หน้า 9

19 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารรัชกาลที่ 5 กรมราชเลขานุการ ร.5.7 รล 10.2/42

20 สรรใจ แสงวิเชียร, “บันทึกของนักเรียนแพทย์รุ่น 4ร้อยปีศิริราชพยาบาล, หน้า 23